Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2555
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยนุช ทองผาสุก-
dc.date.accessioned2024-09-17T03:16:03Z-
dc.date.available2024-09-17T03:16:03Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2555-
dc.description.abstractตรีผลาเป็นตำรับยาสมุนไพรที่ประกอบด้วยผลไม้สามชนิด คือ ผลมะขามป้อม ผลสมอไทย และผลสมอพิเภกในสัดส่วนที่เท่ากัน ยาตรีผลามีการใช้กันอย่างแพร่หลายและยาวนานในทางการแพทย์อายุรเวทอินเดียและการแพทย์แผนไทย ตามบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2564 ยาตรีผลามีสรรพคุณในการบรรเทาอาการไอและขับเสมหะ การฉายรังสีแกมมาในพืชนำมาใช้ในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยในการบริโภค อย่างไรก็ตามการฉายรังสีอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีเเละฤทธิ์ทางชีวภาพของพืช ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฉายรังสีแกมมาที่ขนาด 5, 10 และ 25 กิโลเกรย์ (kGy) ต่อการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟินอลิกรวม และปริมาณของ gallic acid และ chebulagic acid ของชาชงตรีผลา ปริมาณฟินอลิกรวมและ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ตรวจวัดโดยวิธี Folin-Ciocalteu method และ DPPH ตามลำดับ วิเคราะห์ปริมาณของ gallic acid และ chebulagic acid โดยเทคนิค HPLC พบว่า การฉายรังสีแกมมาที่ระดับปริมาณรังสีที่ 5, 10 และ 25 กิโลเกรย์ มีประสิทธิภาพในการลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ และมีผลต่อปริมาณฟีนอลิกรวม และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ชาชงตรีผลา อย่างไม่มีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฉายรังสี การฉายรังสีที่ปริมาณรังสี 5 และ 10 กิโลเกรย์ ส่งผลให้ปริมาณสาร gallic acid เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฉายรังสีen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectตรีผลา (ยาสมุนไพร) -- เภสัชฤทธิวิทยาen_US
dc.subjectรังสีแกมมา -- การวัด -- วิจัยen_US
dc.subjectฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระen_US
dc.subjectเชื้อจุลินทรีย์en_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ผลของรังสีแกมมาต่อการปนเปื้อนทางจุลชีพ องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตรีผลาในรูปแบบชาชงen_US
dc.title.alternativeγ- Irradiation effect on microbial contamination, chemical constituents and antioxidant property of triphala herbal teaen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractTriphala is a polyherbal formulation constituting of three fruits namely Phyllanthus emblica Linn., Terminalia chebula Retz., and Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb. in equal proportions. Triphala has been widely used and prescribed in Ayurvedic and Thai traditional medicine for a long time. According to the National List of Essential Medicines (Thai traditional medicine), Triphala is effective in relieving cough and phlegm. Gamma irradiation is a method utilized for decrease microbial contamination in medicinal plants and ensuring the safety for consumers. Since gamma irradiation may affect the chemical composition and biological properties of medicinal plants. This present study, the influence of gamma irradiation at doses of 5, 10 and 25 kGy on microbial contamination, antioxidant activity, total phenolic content, gallic acid (GA) and chebulagic acid (CA) content were assessed. Total phenolic content and antioxidant activity of non-irradiated and irradiated triphala were determined using the Folin-Ciocalteu method and DPPH assay, respectively. The GA and CA contents were quantified by HPLC. Doses of 5-25 kGy were effectively reduced the microbial load. The applied doses did not cause any significance quantitiative changes in total phenolic content and DPPH scavenging activity. Gamma irradiation at 5 and 10 kGy significantly increased the gallic acid (P < 0.05)en_US
Appears in Collections:Pha-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PIYANUT THONGPHASUK.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.