Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฉัตรวรัญช์ องคสิงห-
dc.date.accessioned2024-09-17T08:13:06Z-
dc.date.available2024-09-17T08:13:06Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2569-
dc.description.abstractรายงานการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมสังคมกองทุนสวัสดิการชุมชน (Social Innovation of Community Welfare) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษานวัตกรรมสังคม กองทุนสวัสดิการชุมชน 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขและองค์ประกอบของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนที่อยู่ในระยะของการพัฒนา โดยใช้วิธีการ สัมภาษณ์แบบโฟกัสกรุ๊ป และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากสำหรับผู้ให้ข้อมูลในส่วนของการสนทนากลุ่ม ใช้ฐานจาก 5 ภาค ได้แก่ 1) ภาคเหนือ 2) ภาคกลางและตะวันตก 3) ภาคใต้ 4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 5) ภาคกรุงเทพ ปริมณฑลและตะวันออก ในแต่ละภาคเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักในหลากหลายจังหวัด ภาคละ 5 จังหวัด และผู้ให้ข้อมูลเป็นประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลในจังหวัดนั้นๆ ทั้งนี้ ผู้วิจัยจำแนกกองทุนสวัสดิการชุมชนออกเป็น 2 กลุ่ม (ในแต่ละจังหวัด) ได้แก่กลุ่มสวัสดิการชุมชนที่ดำเนินงานได้อย่างเข้มแข็ง กับอีกกลุ่มเป็นกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนที่อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนและพัฒนา ซึ่งการเลือกผู้สนทนากลุ่มลักษณะนี้เป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ดังนั้นรวมจำนวนผู้สนทนากลุ่มรวมทั้งสิ้น 50 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องอีก 6 คน รวมเป็นทั้งหมด 56 คน ข้อค้นพบจากงานวิจัย ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 กองทุนสวัสดิการชุมชนแม้ได้รับการก่อตั้งมานานแต่นับเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จัดเป็นกระบวนการทางความคิด ที่ก่อเกิดจากจินตนาการ และการสร้างโอกาสใหม่ๆ เพื่อลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาและทำให้สังคมดีขึ้น โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญคือ (1)เป็นแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา (2) เกิดจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมสร้างของคนในสังคม ไม่ได้เกิดจาก การสั่งการจากภายนอก (3) คนในชุมชนมีจิตสำนึกร่วมต่อสาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว และ (4) มีพัฒนาการ มีการขยายผลไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงพื้นที้และในเชิง รูปลักษณะ นอกจากนั้นสิ่งสำคัญคือกิจกรรมของกองทุนสวัสดิการสังคมได้ลดการเหลื่อมล้ำความไม่เป็นธรรมของสังคมสำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เงื่อนไขและองค์ประกอบของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง ได้แก่1) ระบบการบริหารกองทุน ทุกกองทุนจะมีการวางระบบโครงสร้างกลไกที่แข็งแรง มีคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนและได้รับการคัดเลือกมาจากตัวแทนในหมู่บ้าน คนเหล่านี้ทำหน้าที่กรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนและทำหน้าที่วางระเบียบหลักเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับกองทุน เช่นเกณฑ์การช่วยเหลือสมาชิก และมีหน้าที่ตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆที่เกี่ยวกับกองทุน ซึ่งหลักเกณฑ์เหล่านี้รวมถึงระเบียบทางการเงิน การบันทึกบัญชี การตรวจสอบตลอดจนการทำรายงานการประชุมและรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ 2) ความเสียสละและจิตอาสาที่เป็นจิตวิญญาณของคณะกรรมการกองทุน เนื่องจากคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนเหล่านี้ไม่ได้รับค่าตอบแทน การทำงานจึงต้องเป็นคนเสียสละ และมีจิตอาสาเพื่อชุมชน 3) เงื่อนไขสำคัญอีกประการหนึ่งคือการที่คณะกรรมการสามารถเชื่อมโยงงานกองทุนสวัสดิการชุมชนเข้ากับงานพัฒนาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยเป็นงานที่ครอบคลุมหลายด้านทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิต การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สภาพความเป็นอยู่เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการพัฒนาอาชีพอย่างไรก็ตามในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งขึ้นกับเงื่อนไขและบริบทของชุมชนนั้นๆ ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาข้อ 3) คือแนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนที่อยู่ในระยะของการพัฒนาให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป จุดสำคัญของการพัฒนาคือการเรียนรู้และการดูงานของชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งสามารถสรุปวิธีการของกองทุนที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาได้ดังนี้ 1) คณะกรรมการกองทุนได้เร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกของชุมชนถึงความสำคัญของการมีสวัสดิการเพื่อดูแลกันเอง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับสวัสดิการมากกว่าการกู้ยืม 2) การทำความเข้าใจกับผู้นำท้องถิ่นซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน 3) กองทุนที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาได้วางแนวทางของการบริหารจัดการกองทุน โดยการใช้เครื่องมือเช่นเทคโนโลยี และผู้ที่มีความรู้เช่นเด็กรุ่นใหม่เข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้งานกองทุนสามารถดำเนินไปได้อย่างเข้มแข็งข้อวิพากษ์จากผู้วิจัย กองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นนวัตกรรมสังคมในรูปแบบใหม่ที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชนจากการออมเงินวันละ 1 บาท ซึ่งค่าของเงินแทบจะเป็นไปไม่ได้ ในการนำมาใช้จ่ายช่วยเหลือ แต่การบริหารการมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคท้องถิ่นสามารถทำให้เกิดกองทุนที่เยียวยาคนในชุมชนได้อย่างจริงจัง นอกจากนั้นกลไกของกองทุนยังเป็นเครื่องมือที่เชื่อมสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้มีความผูกพัน รักใคร่ รู้ร้อนรู้หนาวในทุกข์สุขร่วมกัน อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของความเข้มแข็งของชุมชนen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectนวัตกรรมสังคมen_US
dc.subjectสวัสดิการชุมชนen_US
dc.subjectชุมชน -- แง่เศรษฐกิจen_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย นวัตกรรมสังคมกองทุนสวัสดิการชุมชนen_US
dc.title.alternativeSocial innovation of community welfareen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThe objectives of the research study in Social Innovation of Community Welfare were 1) to study social innovation of community welfare services, 2) to study conditions and factors that strengthen community welfare implementation and, 3) to study guidelines for developmental stages of community welfare. This research study was a qualitative study consisting of focus groups and in-depth interviews. The key informants from the focus groups were from 5 regions in Thailand which were from the northern, central, southern, northeastern and eastern regions. In each respective region, 5 key informants were presidents of the local sub-district from 5 different provinces. Community welfare in this study context included both implemented community welfare programs and the developmental stage of new community welfare programs. Therefore, purposive sampling was implemented to ensure key informants’ experience in both programs with a total of 56 key informants; 50 key informants from focus groups and 6 key informants from indepth interviews. Community welfare was not a new concept in Thai society; however, progressive improvement of welfare was considered a social innovation thought process. Social innovation created new opportunities to address social problems and improve the quality of life. The findings of the study in respective to the first objective to study social innovation of community welfare services were 1) social innovation provided new methods of addressing and solving social problems, 2) social innovation united the people within the community through collaboration and mutual understanding, 3) social innovation generated communal sharing of benefits over personal interest and, 4) social innovation developed and changed the local community as a whole. Ultimately, the community welfare program was intended to reduce social disparity between community welfare for Thai citizens and welfare for public officers. The findings of the study in respective to the second objective to study conditions and factors that strengthen community welfare implementation were; 1) all community welfare had a management system with the presidents and committees elected from the communities of which the elected committees had the duty to provide guidelines and conditions for community welfare such as assisting program guidelines, making important decisions on the welfare programs, financial allocation and control, accounting and recording, quality management and documentations, 2) self-devotion and personal sacrifice were personality traits among representatives as they were volunteered-based work with no compensation for the community benefit and, 3) the committee representatives were able to apply community welfare program into other programs such as quality of life improvement program, environmental and conservation program, economic and social program, and career development program. Within the context of community welfare, the researcher was aware of the distinct uniqueness of social problems in certain communities compared to others. Therefore, each community implemented different guidelines that applied to their local nature. The findings of the study in respective to the third objective to study guidelines for developmental stages of community welfare were 1) committee representatives had made awareness among community members to recognize the community benefits that they can utilize and maximize instead of focusing on financial loans as the priority of interest, 2) mutual understanding between the committee representatives and local community leaders to properly allocate and manage financial funding and welfare assistance program and, 3) technology has been integrated into the community welfare services to stay current with the techno-social aspect of the society particularly with the involvements of tech-savvy generations of citizens to create a community welfare program for all. The researcher wanted to recognize that community welfare is a form of social innovation that strengthens the community for mutual benefit. A program that started with a saving of 1 baht daily from every member may seem impossible with the amount, but collaboration across all public, local, and social sectors through the number of participants made the program possible. The program can create a comprehensive implementation of assistive community welfare services. People then will have a mutual understanding of persisting social problems that were common within the community, work together to find probable root causes of social problems, and be willing to participate in community welfare programs to reduce and resolve social problemen_US
Appears in Collections:CSI-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHATWARUN ANGASINHA.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.