Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2611
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพฤติกรรมพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้ป่วยวัยทำงานที่ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้
Other Titles: Effects of health promotion program on commitment to action, health behaviors and blood pressures among working patients with uncontrolled hypertension
Authors: เกศกนก ก้านเพชร
metadata.dc.contributor.advisor: นิภา กิมสูงเนิน
รัชนี นามจันทรา
Keywords: ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย -- การดูแล;พฤติกรรมสุขภาพ;โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพฤติกรรม พฤติกรรมสุขภาพ และความดันโลหิตของผู้ป่วยวัยทำงานที่ ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของเพนเดอร์ (Pender, 1996) เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพฤติกรรม แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และเครื่องวัดความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Pair t-test และเปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้ Chi-squared test ผลการวิจัยพบว่าหลังทดลองกลุ่มทดลองมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพฤติกรรมสูงกว่าก่อน ทดลอง (p <0.001) ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน หลังการทดลองพฤติกรรมสุขภาพ รายด้านทุกด้าน ยกเว้นด้านการรับประทานยาสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ระดับความดันโลหิต ขณะหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว ลดต่ำกว่าก่อน การทดลอง (p < 0.001) และต่า กว่ากลุ่มควบคุม (p< 0.005) ในขณะที่ระดับความดันโลหิต ขณะ หัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัว พบว่า หลังการทดลองค่าของทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of a health promotion program on working patients with uncontrolled hypertension's commitment to action, health behaviors, and blood pressure levels of 60 patients. 30 individuals were randomly assigned to the experimental group and control group. In 12 weeks, the experiment group got Nola J. Pender's health promotion programs' 1996 revision. Nursing care as usual was provided to the control group. Blood pressure measurements, questions regarding health practices, and questionnaires on commitment to an action plan served as the research's measurement tools. Utilizing descriptive statistics, independent t-tests, and paired t-tests, the data were examined. The proportion of workers with hypertension was compared between the two groups using the chi-squared test. The findings revealed that the experimental group had a considerably higher level of commitment to an activity and lifestyle modifications after intervention than they had been before (p< 0.001). However, compared to the control group, only commitment and taking medicine are not significant. Systolic blood pressure was substantially lower in the experimental group than in the control group (p < 0.05) and significantly lower than before the program was administered (p< 0.001), whereas diastolic blood pressure is not significant in any group.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู่ใหญ่และผู้สูงอายุ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2611
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KATEKANOK KHANPETCH.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.