Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2616
Title: ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความสามารถและความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม
Other Titles: Effects of educative–supportive using line application program on ability and anxiety among caregivers of advanced cancer patients
Authors: อนงค์ สง่าเนตร
metadata.dc.contributor.advisor: นิภา กิมสูงเนิน
รัชนี นามจันทรา
Keywords: ผู้ป่วยมะเร็ง -- การดูแล;มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล;การดูแลผู้ป่วย -- การพัฒนาระบบ;ผู้ป่วย, การวางแผนดูแล
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การสนับสนุนและให้ความรู้โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความสามารถและความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามจำนวน 35 คน เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ตามแนวคิดของโอเร็ม เก็บรวบรวมข้อมูลความสามารถในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามและความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามก่อนเข้าโปรแกรม และเมื่อครบ 4 สัปดาห์วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ระดับความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามหลังได้รับโปรแกรมต่ากว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามเพิ่มขึ้นและลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามลงได้
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this quasi-experimental one group pre-posttest design was to study the effects of the educative-supportive program using Line Application on abilities and anxiety among caregivers of patients with advanced cancer. Thirty-five caregivers of patients with advanced cancer were purposively selected to participate in the program which was developed based on Orem’s educative-supportive nursing system as a conceptual framework. The caregivers’ abilities and anxiety were collected before and after the program and analyzed by descriptive statistics with Wilcoxon Signed Rank Test. After 4 weeks, it was found that the caregivers have higher abilities in caring for patients with advanced cancer before participating in the program with statistical significance at the .001 level, and the level of anxiety among the caregivers of patients with advanced cancer decreases significantly after participating in the program with statistical significance at the .001 level. The findings from this study could be used as a guideline for practical application to assist caregivers of patients with advanced cancer in enhancing their abilities to care for patients with advanced cancer and reducing anxiety among caregivers of patients with advanced cancer
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู่ใหญ่และผู้สูงอายุ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2616
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ANONG SA-NGANATE.pdf966.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.