Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2619
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ-
dc.contributor.advisorรัชนี นามจันทรา-
dc.contributor.authorดลยา สุภีแดน-
dc.date.accessioned2024-11-01T03:31:11Z-
dc.date.available2024-11-01T03:31:11Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2619-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู่ใหญ่และผู้สูงอายุ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย กลุ่มตัวอย่างเป็นเวชระเบียนของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่รับการรักษาในหออภิบาลคุณภาพชีวิต โรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง จำนวน 56 ราย ระหว่างเดือนมกราคม มิถุนายน พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย 1) ข้อมูลผู้ป่วยและผู้ดูแล 2) ข้อมูลผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองด้านผู้ป่วยและผู้ดูแล ได้แก่ คะแนนจากแบบประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล อาการรบกวนของผู้ป่วย และความพึงพอใจต่อการดูแลแบบประคับประคองของผู้ดูแล วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Repeated Measures ANOVA, Friedman Test และ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายมีผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองและคุณภาพชีวิตในวันจำหน่าย (T2) หลังจำหน่าย 1 สัปดาห์ (T3) 1 เดือน (T4) และ 3 เดือน (T5) สูงกว่าวันแรกที่เข้ารับบริการ (T1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) คะแนนอาการรบกวนของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย พบว่า อาการปวด อาการเหนื่อยอ่อนเพลีย อาการวิตกกังวล อาการง่วงซึม อาการเบื่ออาหาร และอาการไม่สบายทั้งกายและใจ ในระยะ T2, T3, T4 และ T5 น้อยกว่าในระยะ T1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) แต่อาการคลื่นไส้อาเจียน ซึมเศร้า และเหนื่อยหอบไม่แตกต่างกัน (p>.05) ผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตในระยะ T4 และ T5 สูงกว่าในระยะ T2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผู้ดูแลมีระดับความพึงพอใจต่อการดูแลแบบประคับประคองอยู่ในระดับมากที่สุด ในระยะ T2, T4 และ T5 แต่ไม่แตกต่างกัน (p> .05)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย -- การดูแลen_US
dc.subjectการดูแลแบบประคับประคองen_US
dc.subjectมะเร็ง -- การรักษา -- ผู้ป่วยen_US
dc.titleการประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายหออภิบาลคุณภาพชีวิต โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งen_US
dc.title.alternativeOutcomes evaluation of palliative care for end -stage cancer patients in quality of life care unit at a cancer specialized hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis retrospective descriptive study aimed to evaluate the outcomes of palliative care for end-stage cancer patients. The sample comprised 56 medical records of end-stage cancer patients admitted in the Quality of Life Care Unit at a Cancer Specialized Hospital. The data were collected from the records from January to June 2022. The record forms were 1) patient and caregiver personal and health information, and 2) the outcomes of palliative care of patients and caregivers, including the Palliative Care Outcome Scale, patient’s and caregiver’s quality of life, patient’s symptoms, and caregiver’s satisfaction of the palliative care. Data analysis involved descriptive statistics, repeated measures ANOVA, Friedman test, and Wilcoxon Signed Rank test. The results indicated that palliative care outcomes and the quality of life for end-stage cancer patients, measured on the admission day (T1), the date of discharge from the hospital (T2), and at 1 week (T3), 1 month (T4), and 3 months after discharge (T5), were significantly higher than after the patients were discharged from the hospital (p< .05). End-stage cancer patients reported significantly lower levels of pain, fatigue, anxiety, drowsiness, loss of appetite, and not well-being at T2, T3, T4, and T5 compared to T1 (p< .05). However, there were no significant differences in nausea, vomiting, depression, and dyspnea (p>.05). Caregivers exhibited a higher quality of life at T4 and T5 than at T2, with these differences being statistically significant (p< .05). Caregiver’s satisfaction of the palliative care at T2, T4, and T5 was at the high level, but there were no statistically significant differences (p> .05).en_US
dc.description.degree-nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุen_US
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
DONLAYA SUPEEDEAN.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.