Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2621
Title: โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์การช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่มารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
Other Titles: Structure, process, and outcome of cardiopulmonary resuscitation among persons having out-of-hospital cardiac arrest at emergency department
Authors: พีรเดช วัฒนจิตต์
metadata.dc.contributor.advisor: วารินทร์ บินโฮเซ็น
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: การช่วยฟื้นคืนชีพ;ภาวะหัวใจหยุดเต้น -- การรักษา;โรงพยาบาล -- บริการพยาบาลฉุกเฉิน -- วิจัย
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา โครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ของการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่มารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 91 ราย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ และในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 96 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกและแบบทดสอบความรู้ของบุคลากรด้านโครงสร้าง 2) แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพ และ 3) แบบบันทึกการเก็บรวบรวมด้านผลลัพธ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายผลการวิจัยด้านโครงสร้าง ด้านผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.42 อายุเฉลี่ย58.37 ปี (SD= 20.12) สาเหตุที่ทา ให้หัวใจหยุดเต้นมากที่สุด คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันร้อยละ 34.07 ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินร้อยละ 43.96 มีผู้พบเห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นร้อยละ 89.01 การนา ส่งผู้ป่วยโดยญาติและมีการช่วยกดหน้าอกนวดหัวใจก่อนมาโรงพยาบาลเพียง ร้อยละ 14.60 ด้านความรู้กระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพของบุคลากรพบว่า พยาบาลวิชาชีพเจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่กู้ชีพขั้นพื้นฐาน ส่วนใหญ่ มีความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพในระดับดี(ร้อยละ 73.33, 62.50, 51.79 ตามลำดับ) ด้านกระบวนการตามห่วงโซ่การรอดชีวิต พบว่า ระยะเวลา Response time เฉลี่ย 14.43 นาที (SD= 5.76) ใช้เวลามากกว่า 8 นาที ร้อยละ 80 ระยะเวลาตั้งแต่คลา ชีพจรผู้ป่ วยไม่ได้จนถึงเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการกดหน้าอกครั้งแรก พบว่าใช้เวลาน้อยกว่า 5 นาทีมีจำนวนที่มากที่สุด (ร้อยละ 68.13) คลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยเป็นแบบที่ไม่สามารถกระตุ้นด้วยไฟฟ้าได้ ร้อยละ 78.95 ระยะเวลาตั้งแต่คลา ชีพจรผู้ป่วยไม่ได้จนถึงเวลาที่ผู้ป่วยได้รับยา Adrenaline ครั้งแรก พบว่าใช้เวลา 5 -10 นาที มีจำนวนมากที่สุด (ร้อยละ 30.77) ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยคลำชีพจรไม่ได้จนถึงเวลาที่ผู้ป่วยกลับมามีสัญญาณชีพ (ROSC) พบว่าใช้เวลามากกว่า 30 นาทีมีจำนวนที่มากที่สุด (ร้อยละ 37.78) ด้านผลลัพธ์ พบว่าผู้ป่วยกลับมามีสัญญาณชีพจำนวน 45 คน (ร้อยละ 49.45) และ การรอดชีวิตของผู้ป่วยครบ 24 ชั่วโมง จำนวน 33 คน (ร้อยละ 36.26) ข้อเสนอแนะ ควรมีการอบรมให้ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแก่ ประชาชนทั่วไปเพื่อส่งเสริมให้มีการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนมาถึงโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
metadata.dc.description.other-abstract: This retrospective descriptive research aimed to study the structure, process and outcomes of cardiopulmonary resuscitation for out-of-hospital cardiac arrest patients undergoing treatments at the Emergency Unit, Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. The samples were 91 out-of-hospital cardiac arrest patients who received resuscitation at the Emergency Unit, Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital and 96 healthcare workers working on resuscitation at the scene of the accident and the emergency room. The research instruments were: 1) a record form and a test of the structure knowledge of healthcare workers, 2) a record of data on resuscitation process, and 3) a record of resuscitation outcomes. Data were analyzed using descriptive statistics. The research results on the structure indicated that most patients were men (58.42%). The mean age was 58.37 years. (SD= 20.12) The most common cause of cardiac arrest was acute myocardial infarction (34.07%). 43.96% of patients arrived at the hospital via the emergency medical services. 89.01% of them were witnessed while they had cardiac arrest. 14.60% of them received chest compression from their witnesses before arriving at the hospital. It was also found that most of registered nurses, emergency medical technicians-intermediate officers, and emergency medical technicians-basic officers had a good level of knowledge about resuscitation (73.33%, 62.50%, and 51.79%, respectively). With regard to the process chain of survival, it was found that the average response time was 14.43 minutes (SD= 5.76). 80% took more than 8 minutes. The duration staring from palpation to the first chest compression was less than 5 minutes (68.13%). 78.95% of patients could not be helped by electrical stimulation. The duration staring from palpation to the reception of the first dose of adrenaline was 5-10 minutes (30.77%). The duration from staring from palpation to the return of spontaneous circulation (ROSC) was more than 30 minutes (37.78%). As for the outcomes, 45 patients (49.45%) returned to have vital signs. 33 patients (36.26%) had 24-hour survival. The research recommended the provision of a training course on basic resuscitation for the general people to increase a chance of survival
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู่ใหญ่และผู้สูงอายุ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2621
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PHEERADET WATTANAJIT.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.