Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2629
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณกมล จันทร์สม | - |
dc.contributor.author | อธิษฐาน มีแสง | - |
dc.date.accessioned | 2024-11-05T08:27:48Z | - |
dc.date.available | 2024-11-05T08:27:48Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2629 | - |
dc.description | รายงานการค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2559 | en_US |
dc.description.abstract | ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสันนิษฐานว่า ธุรกิจ ‘ไอศกรีม’ น่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในเร็ววัน ด้วยเหตุผลของสภาพอากาศร้อนระอุในบ้านเรา อีกทั้งผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนพฤติกรรมมารับประทานไอศกรีมตามความต้องการหรือโอกาส และเหตุผลต่างๆ เช่น ความชอบส่วนตัวเป็นแหล่งนัดพบปะสังสรรค์ ผ่อนคลาย หรือเพื่อเป็นของหวานหลังการรับประทานอาหาร ทำให้ไอศกรีมไม่ได้เป็นของหวานที่นิยมรับประทานแต่เฉพาะในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้ประกอบการ รายย่อยเข้าสู่ตลาดไอศกรีมเพิ่มขึ้น โดยผลิตเป็น‘ไอศกรีมโฮมเมด’ (Homemade Icecream) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เดิมไอศกรีมโฮมเมดเป็นการทำรับประทานกันเองภายในบ้าน แต่ในปัจจุบันไอศกรีมโฮมเมดผลิตเพื่อป้อนให้กับภัตตาคาร ร้านอาหารหรือโรงแรมต่างๆ มีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ต่อปี หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 1,635 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของมูลค่าตลาดรวมของไอศกรีมพรีเมียม (คาดว่ามีมูลค่าตลาดประมาณ 5,450 ล้านบาท) เนื่องจากมีรสชาติที่หลากหลาย และมีรูปแบบไอศกรีมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จำหน่ายในราคาไม่แพง ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ อีกทั้งใช้จำนวนเงินลงทุนไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับการตั้งโรงงานผลิตไอศกรีม ไอศกรีมโฮมเมด เพื่อสุขภาพ ‘ลุงเต็ง’ เป็นกิจการที่มีเจ้าของคนเดียว 100 % โดยรูปแบบธุรกิจนั้นเป็นการผลิตไอศกรีมโฮมเมดเพื่อสุขภาพ และ ‘ฝากขาย’ ในร้านอาหารทั่วไป ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และคลินิกแพทย์ทางเลือกในระยะเริ่มต้นธุรกิจ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้รักสุขภาพ ผู้แพ้แลคโตสในน้ำนม ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคลำไส้ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ที่มีข้อจำกัดใน การบริโภคน้ำตาล เนื่องจากไอศกรีมลุงเต็งเป็นไอศกรีมไร้นม ไร้น้ำตาล มีไฟเบอร์ในน้ำนมข้าว มีโพรไบติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ไอศกรีมลุงเต็งยังมีไขมันจากน้ำมันรำข้าว มีวิตามิน E มี Omega 3 6 9 และมีแพลนท์สตานอล (Plant Stanol) ซึ่งเป็นไขมันชนิดพิเศษ มีคุณสมบัติในการยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากทางเดินอาหาร ซึ่งทีมผู้ผลิตอยู่ในวงการแพทย์และนักวิจัย จึงทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือ ปัจจุบันไอศกรีมลุงเต็งใช้คนพนักงานในการผลิต 3 คน มีกำลังการผลิต 1,250 ถ้วยต่อเดือน โดยมีทั้งหมด 14 รสชาติ ได้แก่ รสมะม่วงมหาชนกซอร์เบท์ รสมิกเบอร์รี่คอลลาเจน รสเผือกกะทิ รสเสาวรส รสนมถั่วเหลือง-ชาเขียวมัทฉะ รสนมถั่วเหลือง-วานิลลา รสน้ำผึ้งมะนาว รสสตรอเบอร์รี่ รสดาร์กช็อกโกแลต รสช็อกโกแลตผสมแมคคาเดเมียนัท รสกล้วยหอมช็อกโกแลต รสอัลมอนด์คอฟฟี่ และรสช็อกโกแลตผสมเนยถั่วลิสง โดยมีขนาดบรรจุ 80 กรัม จำหน่ายในราคาส่งถ้วยละ 50 บาท และจำหน่ายในราคาปลีกถ้วยละ 80 บาท ซึ่งผู้บริโภคสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ได้จากร้านรับฝากขาย 5 แห่ง ได้แก่ ร้านโทรญ่า ร้าน Chapter 31 ร้าน Munchies ภาควิชาเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ AMC Clinic และสามารถโทรสั่งซื้อกับทางผู้ผลิตได้โดยตรง เนื่องจากไอศกรีมลุงเต็งอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ จึงได้มีการวางแผนปฏิบัติการทางการตลาดในปี พ.ศ.2559 โดยเริ่มด้วยการผลิตวิดีโอพรีเซนเทชั่น แนะนำตัวเองว่า ลุงเต็งเป็นผู้ผลิตไอศกรีมโฮมเมด เพื่อสุขภาพรายแรกที่มีคุณประโยชน์สูงกว่าไอศกรีมโฮมเมดทั่วไป พร้อมแนะนำความหลากหลายในเรื่องของรสชาติ เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้จักตราสินค้าเพิ่มขึ้น โดยจะเผยแพร่วิดีโอดังกล่าวลงในสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งยูทูป เฟซบุ๊คของไอศกรีมลุงเต็งเอง นอกจากนี้ยังเพิ่มช่องทางโฆษณาให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยใช้อินสตาแกรม ทั้งยังใช้พื้นที่ในเฟซบุ๊ค เพื่อให้ข้อมูลเชิงวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ และทำกิจกรรมทางสังคม ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ไปให้กับผู้บริโภคที่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่มีอาการแพ้แลคโตสในน้ำนม ปีละ 1 ครั้ง โดยเลือกวันก่อตั้งไอศกรีมลุงเต็ง และส่งภาพข่าวไปยังหนังสือพิมพ์รายวันหน้าสตรี (เซคชั่นไลฟ์สไตล์) ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากเป็นฟรีมีเดีย และเป็นการทำ SCR ทั้งยังทำให้ผู้บริโภคได้รู้จักตราสินค้าในวงกว้างขึ้น โดยงบประมาณส่งเสริมการตลาดในปี พ.ศ.2559 อยู่ที่ 32,200 บาท ประมาณการอัตราการผลิตไอศกรีมลุงเต็งอยู่ที่ 48% โดยผลิตปีละ 1,200 กิโลกรัม หรือปีละ 15,000 ถ้วย โดยรสเสาวรส เป็นรสที่ขายดีเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด คิดเป็น 360 กิโลกรัมต่อปี หรือ 4,500 ถ้วยต่อปี รสชาติที่ขายดีเป็นอันดับ 2 ได้แก่ รสมิกซ์เบอร์รี่ คอลลาเจน และรสสตรอเบอร์รี่ คิดเป็นร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิต คิดเป็น120 กิโลกรัมต่อปี หรือ 1,500 ถ้วยต่อปี ส่วนรสชาติที่ขายดีเป็นอันดับ 3 คือ รสดาร์กช็อกโกแลต คิดเป็นร้อยละ 7 ของปริมาณการผลิต หรือ 84 กิโลกรัมต่อปี และคิดเป็น 1,050 ถ้วยต่อปี ซึ่งวัตถุดิบทางตรงที่ใช้ปริมาณสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำนมข้าว น้ำตาลมอลทิทอล และเสาวรส โดยใช้ 5,883 กิโลกรัม 2,797.5 กิโลกรัม และ 1,350 กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนค่าแรงทางตรง ซึ่งได้แก่ เงินเดือนผู้จัดการฝ่ายผลิต 1 คน พนักงานฝ่ายผลิต 1 และพนักงานขับรถ 1 คน มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 31,000 บาท หรือปีละ 372,000 บาท และค่าใช่จ่ายในการผลิต อันได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าน้ำมัน อยู่ที่เดือนละ 9,400 บาท หรือปีละ 112,800 บาท ไอศกรีมลุงเต็งใช้เงินลงทุนเริ่มต้นทั้งสิ้น 300,000 บาท โดยเจ้าของกิจการเพียงผู้เดียว โดยไม่มีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และเริ่มมีผลกำไรในปีที่ 1 มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 3 ปี 5 เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 513,868 บาท | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | การวางแผนธุรกิจ | en_US |
dc.subject | ผู้ประกอบการ | en_US |
dc.title | แผนธุรกิจ ไอศกรีมโฮมเมด เพื่อสุขภาพ 'ลุงเต็ง | en_US |
dc.title.alternative | Business plan : Loong Teng Syn-Biotic icecream | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.degree-name | การจัดการมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ | en_US |
Appears in Collections: | BA-MM-M-IDP |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ATHISTHAN MEESAENG.pdf | 31.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.