Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2646
Title: กลวิธีการเล่าเรื่องและการสร้างอารมณ์ขันในภาพยนตร์ตลกไทย
Other Titles: Film narration and humor production in Thai comedy films
Authors: ธิติวุฒิ บุญแก้ว
metadata.dc.contributor.advisor: ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค
Keywords: ภาพยนตร์ตลกขบขัน;อารมณ์ขัน;การเล่าเรื่อง;ภาพยนตร์ -- ไทย -- อารมณ์ขัน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “กลวิธีการเล่าเรื่องและการสร้างอารมณ์ขันในภาพยนตร์ตลกไทย” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ตลกไทย 2) เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในภาพยนตร์ตลกไทย แนวคิดที่นำมาใช้เป็นกรอบวิจัย คือ แนวคิดการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ (Narrative Theory) และแนวคิดกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน (Humor Production) ในภาพยนตร์ตลก (Comedy Films) ภาพยนตร์ที่นำมาศึกษาคือภาพยนตร์ตลกไทยที่มีรายได้สูงสุดประจำปี พ.ศ. 2555 - 2565 จำนวน 10 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่าการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ตลกไทยมีลักษณะดังนี้ โครงเรื่อง (Plot) มี 5 ขั้นตอน คือ การเริ่มเรื่องการพัฒนาเหตุการณ์ภาวะวิกฤตภาวะคลี่คลายและการยุติเรื่องราวโดยมักใช้รูปแบบยกเอาสถานการณ์จริงในสังคมไทยมารังสรรค์เนื้อหาใหม่ เน้นความเรียบง่ายที่ผู้ชมสามารถเข้าใจโดยทันที ความขัดแย้ง (Conflict) หลักของเรื่องมักเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างคนกับคนและความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร แก่นเรื่อง (Theme) มีความหลากหลาย แต่มักเกี่ยวข้องกับแก่นทางศีลธรรมหรือคำถามเชิงปรัชญาแก่นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์แก่นเรื่องเกี่ยวกับความจริงของชีวิตรวมไปถึงแก่นเรื่องเกี่ยวกับการวิพากษ์สังคม ตัวละคร (Character) มักมีการใช้ตัวละครเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลายทางบุคลิกภาพ ฉาก (Setting) มีลักษณะเป็นฉากที่แสดงการดำเนินชีวิตของตัวละครเป็นหลัก และมุมมองในการเล่าเรื่อง (Point of View) มักมีรูปแบบการเล่าแบบรู้รอบด้าน (Omniscience) ในส่วนของกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในภาพยนตร์ตลกไทย พบว่ามีรูปแบบการ ผสมผสานของกลวิธีการสร้างความตลกขบขันหลากหลายรูปแบบภายในเรื่องเดียว โดยจะเห็นได้ ชัดที่สุดคือการใช้กลวิธีตลกโปกฮา (Farce) ในรูปแบบของการแสดงที่เอะอะตึงตัง จากข้อมูลพบว่า ภาพยนตร์ตลกไทยสามารถพบรูปแบบเคราะห์หามยามร้ายทางร่างกายถูกนำมาใช้มากที่สุด ลำดับ ถัดมาคือกลไกโครงเรื่องการล้อเลียนเสียดสีไหวพริบคำคมความลามกอนาจารและความลักลั่นใน การเสนอตัวละครตามลำดับ โดยมีการสื่อสารอารมณ์ขันอย่างเรียบง่ายและตรงไปตรงมา มักมีการ ใช้นักแสดงตลกมืออาชีพเพื่อสร้างอารมณ์ขบขัน อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ตลกไทยที่นำมาศึกษามักมีการสะท้อนและเสียดสีสังคมไทยอยู่เสมอ อาทิ ประเด็นเพศภาวะค่านิยมของคนในสังคมสถาบันทางศาสนาความขัดแย้งทางการเมืองสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to investigate two main aspects: 1) the narration of films and 2) humor production in Thai comedy movies. The study employed two frameworks for analysis: films' narrative structure and techniques, as well as humor production elements within the context of comedy films. The research adopted a qualitative methodology, specifically employing textual analysis techniques. To gather data for analysis, a selection was made of ten Thai comedy movies that achieved the highest income between 2012 and 2022. The findings indicated that the analyzed movies followed a typical five-stage plot structure, including exposition, rising action, climax, falling action, and resolution. The movie contents were created in a simplistic manner, drawing inspiration from real-life events in Thai society to ensure easy audience comprehension. Conflict, both interpersonal and internal, was a prevalent theme. A diverse range of themes emerged, with a particular focus on morality, philosophical inquiries, human nature, truths of life, and social criticism. The movies featured numerous characters with distinct personalities, and the settings reflected the characters' ways of life. Furthermore, an omniscient point of view was predominantly employed in the movies. Most of the movies used farce produced by characters with exaggerated acts. The most prominent type was physical mishap, followed byplot mechanism, satire, verbal jokes, sexual innuendos, and the unsystematic presentation of characters, respectively. Nevertheless, most of them were found to reflect some Thai social issues, such as gender, social values, ways of life, religion, political conflicts, society, economy, culture, the life of rural people living in urban areas, and localism
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2646
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-FTWD-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
THITIWUT BOONKAEW.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.