Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2647
Title: วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน
Other Titles: Comparative analysis of narrative structures in Thai and Chinese teen films
Authors: จินหลู่ ซ่ง
Jinlu Song
metadata.dc.contributor.advisor: ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค
Keywords: ภาพยนตร์ไทย -- การเล่าเรื่อง;ภาพยนตร์จีน -- การเล่าเรื่อง;ภาพยนตร์ -- โครงเรื่อง;การเล่าเรื่อง;ภาพยนตร์วัยรุ่น
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน ภาพยนตร์ที่นามาศึกษาได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่ารัก(First Love), 20 ใหม่ (Suddenly Twenty), ฉลาดเกมส์โกง (Bad Genius), You Are the Apple of My Eye, Miss Granny, The Ark of Mr. Chow ผลจากการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์ทั้งหมดมีกลวิธีการเล่าเรื่อง ดังนี้ 1) โครงเรื่อง มีโครงสร้างเป็นไปตามโครงสร้าง 3 องก์ ใช้การลาดับเหตุการณ์ในการเล่าเรื่อง 5 ขั้นตอน คือ การเริ่มเรื่อง พัฒนาเหตุการณ์ ภาวะวิกฤต ภาวะคลี่คลายและการยุติเรื่องราว 2) แก่นเรื่อง ทั้ง 6 เรื่องนี้มีแก่นความคิดเกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของวัยรุ่น 3) ตัวละคร ในภาพยนตร์ทั้งหมดนี้ มีตัวละคร 2 ประเภท คือ ตัวกลม (Round character) และตัวแบน (Flat character) 4) ความขัดแย้ง ภาพยนตร์ทั้งหมดมีความขัดแย้ง 3 ประเภท คือความขัดแย้งระหว่างคนและคน ความขัดแย้งภายในจิตใจ และความขัดแย้งระหว่างคนกับสังคม 5) ฉาก ส่วนใหญ่เป็นการดาเนินชีวิตของตัวละคร ฉากพื้นที่เมือง โดยอิงยุคสมัยตามเนื้อเรื่อง 6) มุมมองการเล่าเรื่อง เน้นมุมมองบุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 3 โดยเมื่อเปรียบเทียบการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน พบว่ามีลักษณะดังนี้ ด้านความเหมือน 1) โครงเรื่อง โครงสร้างเป็นไปตามโครงสร้าง 3 องก์ 2) แก่นเรื่อง มักแสดงออกถึงความฝันและคุณค่าของชีวิตวัยรุ่น 3) ตัวละครหญิง มักเป็นนักเรียนมัธยม 4) ฉาก มักเป็นโรงเรียนหรือบ้านเป็นสาคัญ 5) ความขัดแย้ง ส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งระหว่างคนกับคน 6) มุมมอง มักเป็นมุมมองบุรุษที่ 1 และ บุรุษที่ 3 ด้านความแตกต่าง 1) ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมักมีโครงเรื่องที่เรียบง่ายมีความกระชับและชัดเจน ในขณะที่ไทยมีโครงเรื่องที่หลากหลาย และมีความซับซ้อนซับซ้อน 2) แก่นเรื่องมักได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมประจาชาติของตนเอง 3) ตัวละคร ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนให้ความสาคัญกับการแสดงภาพโลกภายในของตัวละครและการแสดงอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของตัวละคร ภาพยนตร์วัยรุ่นไทย เน้นให้ความสาคัญกับบุคลิกของตัวละคร 4) ความขัดแย้ง ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมักนาเสนอความขัดแย้งในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่กับลูก ขณะที่ภาพยนตร์ไทย ไม่เน้นภาพความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูก 5) ฉาก ภาพยนตร์ไทยมักอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ ขณะที่ฉากภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมีความหลากหลาย 6) มุมมองการเล่าเรื่อง ภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ใช้มุมมองจากตัวเอกเพศชาย แต่ภาพยนตร์จีนส่วนใหญ่ใช้มุมมองจากตัวเอกเพศหญิง
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to analyze the narrative techniques of Thai and Chinese movies depicting teenagers’ lives. The research focused on six movies including “First Love”, “Suddenly Twenty”, “Bad Genius”, “You Are the Apple of My Eye”, “Miss Granny”, and “The Ark of Mr. Chow.” The results revealed that 1) all the movies embraced the three-act structure with the five-act structure: the exposition, rising action, climax, falling action, and resolution. 2) All the movies shared the themes of teenagers’ lives. 3) The research found two character types: round and flat. 4) The movies had three conflict types: character vs. character, character vs. self, and character vs. society. 5) Most of the scenes depicted characters’ lives mainly in urban cities and during different periods based on the stories of the movies. 6) First-person and third-person points of view were mostly found. Both Thai and Chinese movies shared some similarities. 1) Both Thai and Chinese movies had the three-act structure. 2) Both shared the themes of teenagers’ dreams and life. 3) Female characters in both Thai and Chinese movies were high schoolers. 4) Most scenes were set in houses and schools. 5) The frequently found conflict type was character vs. character. 6) First-person and third-person points of view were mostly found. Thai and Chinese movies were different in some aspects.1) The Chinese movies presented a variety of plots which were simpler and less complicated than Thai movies. 2) The themes of both groups were influenced by their cultures. 3) The Chinese movies put more emphasis on the changing moods and emotions of the characters while the Thai movies focused more on characters’ personalities. 4) The Chinese movies mainly presented conflicts in families, especially between parents and children, which were not found in the Thai movies. 5) In Thai movies, big cities, e.g. Bangkok, were used as the scenes while the Chinese ones had more varieties. 6) The point of view from male characters was mainly used in Thai movies while the Chinese movies focused mainly on female characters’ point of view
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 25
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2647
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-FTWD-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JINLU SONG.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.