Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/274
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุจาภา แพ่งเกษร-
dc.contributor.authorณัฐนันท์ คงเพ็ชรศักดิ์-
dc.date.accessioned2022-01-14T06:53:08Z-
dc.date.available2022-01-14T06:53:08Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/274-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริการธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ 7P’s (2) ปัจจัยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (3) ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ QR Code ชำระค่าบริการของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร ที่เคยใช้ QR Code ชำระค่าบริการ ทั้งประชากรเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (มีอายุระหว่าง 39-53 ปี) และเจเนอเรชั่นวาย (มีอายุระหว่าง 22-38 ปี) จำนวนทั้งสิ้น 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ที่มีประสบการณ์ใช้ QR Code ชำระค่าบริการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัวมี 3 คนขึ้นไป มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป รู้จัก QR Code Payment ผ่านช่องทางป้ายรับชำระด้วย QR Code และส่วนใหญ่เคยใช้ QR Code ชำระค่าบริการครั้งแรกที่ร้านอาหาร/ร้านกาแฟ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ 7P’s ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการให้บริการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ด้านครอบครัวและกลุ่มเพื่อน และด้านผู้มีชื่อเสียงมีความสัมพันธ์ทางเชิงบวกต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง ด้านความเป็นส่วนตัว และด้านจิตวิทยา มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายที่มีประสบการณ์ใช้ QR Code ชำระค่าบริการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด จำนวนสมาชิกในครอบครัวมี 3 คนขึ้นไป มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท รู้จัก QR Code Payment ผ่านช่องทางป้ายรับชำระด้วย QR Code และส่วนใหญ่เคยใช้ QR Code ชำระค่าบริการครั้งแรกที่ร้านอาหาร/ร้านกาแฟ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ 7P’s ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงไม่มีด้านใดส่งผลต่อการตัดสินใจ (3) ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง ด้านจิตวิทยา มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectคิวอาร์โคดen_US
dc.subjectการโอนเงินทางอิล็กทรอนิกส์ -- กรุงเทพมหานครen_US
dc.subjectการชำระเงิน -- นวัตกรรมทางเทคโนโลยี -- กรุงเทพมหานครen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ QR Code ชำระค่าบริการของผู้บริโภคกลุ่ม เจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors affecting the decision to use QR Code pay for services of consumer generation X and generation Y in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis research aims to studies on (1) marketing mix 7P’s for service business (2) subjective norms (3) perceived risk. That affect the decision to use QR Code pay for the services of generation X and generation Y consumers in Bangkok. Which is quantitative research and using a questionnaire to collect data from samples in Bangkok who used QR Code to pay for services. Whole generation X (Aged between 39-53 years) and generation Y (Aged between 22-38 years), a total of 400 people. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and inferential statistics using multiple regression analysis The results showed that Generation X consumers with experience using QR Code to pay for services Mostly female have married status, the number of family members has 3 more, with a bachelor's degree in education. Have a career as a government official/state enterprise employee. Have an average monthly income of 40,001 baht up to. Recognize QR Code payment via the billboard and most have used QR Code to pay the first service at a restaurant/coffee shop. The hypothesis testing found that (1) Marketing mix 7P’s for service business were products and service channel influence decision making with statistical significance at the level of 0.05 (2) Subjective norms factors were family and friends and the celebrity has a significant influence on decision making at the level of 0.05 (3) Privacy and psychological perceived risk factors influence decision making with statistical significance at the level of 0.05 an acceptable level. Generation Y consumers with experience using QR Code to pay for services Mostly female have single status, the number of family members has 3 more, with a bachelor's degree in education. Have a career as a company employee. Have an average monthly income 20,001-30,000 baht. Recognize QR Code payment via the billboard and most have used QR Code to pay the first service at a restaurant/coffee shop. The hypothesis testing found that (1) Marketing mix 7P’s for service business where the product and price influence decision making with statistically significant at the level of 0.05 (2) Subjective norms factors had no effect on decision making. (3) Psychological perceived risk factors influence decision making with statistical significance at the level of 0.05 an acceptable level.en_US
dc.description.degree-nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineบริหารธุรกิจen_US
Appears in Collections:BA-BA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthanan Kongphetsak.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.