Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมาลี สว่าง-
dc.contributor.authorชิดชนก อุดแก้ว-
dc.date.accessioned2022-01-14T08:17:01Z-
dc.date.available2022-01-14T08:17:01Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/292-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริการธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะด้านประชากรศาสตร์ของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านองค์ประกอบของการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของสานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 โดยประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้เสียภาษีในเขตปทุมวัน โดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจานวน 400 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ด้วย t-Test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 26-35 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด มีอาชีพเป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ของตนเองเฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท โดยปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของสานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 มากที่สุด คือ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (β = 0.332) รองลงมา คือ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ (β = 0.234) และด้านการเอาใจใส่ผู้รับบริการ (β = 0.204) และน้อยที่สุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (β = 0.123) ตามลาดับ มีอานาจในการพยากรณ์ร้อยละ 53.4 (Adj. R2 = 0.534) และปัจจัยด้านองค์ประกอบของการสื่อสารที่มีส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของสานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 มากที่สุด คือ ด้านช่องทางการสื่อสาร (β = 0.356) รองลงมา คือ ด้านผู้ส่งสาร (β = 0.316) และน้อยที่สุด คือ ด้านเนื้อหาของสาร (β = 0.248) ตามลาดับ ตามลาดับ มีอานาจในการพยากรณ์ร้อยละ 60.8 (Adj. R2 = 0.608)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectคุณภาพการให้บริการen_US
dc.subjectการสื่อสาร -- งานบริการen_US
dc.subjectภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาen_US
dc.titleคุณภาพการให้บริการ และองค์ประกอบของการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3en_US
dc.title.alternativeService quality and communication component affecting the satisfaction of individual taxpayer in Bangkok Area Revenue Office 3en_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis research aimed to study the influence of demographic factors, service quality factors, and communication elements on the satisfaction of the personal income taxpayers in Bangkok Area Revenue Office 3. This study employed questionnaires to collect data from 400 samples residing in Pathumwan District, Bangkok. These samples were selected using the convenience sampling method. The descriptive statistics used in the analysis of the data included frequency, percentage, mean, standard deviation as well as the inferential statistics which were T-test, F-test (One-Way ANOVA), and multiple regression analysis (MRA). According to the survey results, most respondents were female, aged between 31 - 40 years, holding a bachelor’s degree, single, working as government officials with average monthly incomes of 20,001 to 30,000 baht. The factors that mostly affected the satisfaction of the personal income taxpayers regarding service quality was responsiveness (β = 0.332), followed by reliability (β = 0.234), empathy (β = 0.204), and tangibility (β = 0.123), respectively. The percentage of the power of prediction was at 53.4 (Adj. R2 = 0.534). Furthermore, the factors that mostly affected the satisfaction of personal income taxpayers regarding the communication elements included communication channels (β = 0.356), followed by senders (β = 0.316), and messages (β = 0.248), respectively. The percentage of the power of prediction was at 60.8 (Adj. R2 = 0.608).en_US
dc.description.degree-nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineบริหารธุรกิจen_US
Appears in Collections:BA-BA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chidchanok Oodkaew.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.