Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/295
Title: การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตัวแทนธนาคาร (banking agent) ในประเทศไทย
Other Titles: The financial transaction through banking agent in Thailand
Authors: นรินทร์ เลิศเรืองนภา
metadata.dc.contributor.advisor: ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช
Keywords: อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง;ธุรกรรมทางการเงิน;ธนาคารและการธนาคาร -- ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่ศึกษาการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตัวแทนธนาคาร (Banking Agent) ในประเทศไทยและ เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และการใช้บริการผ่านตัวแทนธนาคาร (Banking Agent) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจึงใช้วิธีการกำหนดตัวอย่างโดยการเปิดตารางกรณีไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน และเป็นการเก็บตัวอย่าง จึงกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 793 คนโดยวิธีออนไลน์ สุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non Probability Sampling) และเก็บข้อมูลด้วยการเลือกตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์ การการศึกษาพบว่าการธุรกรรมการเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารเป็นประจำ และความถี่ในการใช้บริการมีความสัมพันธ์กับการใช้บริการตัวแทนธนาคารทั้งหมด ที่ระดับ -.176(**), -.085(*), -.081(*), -.081(*) ตามลำดับ จะสังเกตว่าค่าความสัมพันธ์เป็นลบ หมายความว่า หากมีการใช้บริการที่เคาน์เตอร์ธนาคารเป็นประจำจะไม่ไปใช้บริการตัวแทนธนาคาร ส่วนความคิดเห็นด้านความสะดวกรวดเร็วและความเชื่อมั่นปลอดภัยมีความความสัมพันธ์กับบริการตัวแทนธนาคารทั้งหมด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าความปลอดภัยและความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ด้านการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต ควรมีความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการมากขึ้น ตลอดจนถึงการตรวจสอบตัวแทนธนาคารไห้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของธุรกรรมนี้และการกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้มีการเปิดหรืออนุญาตไห้มีตัวแทนธนาคารเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงธุรกรรมลักษณ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันอันจะทำไห้เศรษฐกิจภาคครัวเรือนและชุมชนขยายตัวมากขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: This objective of this research is to study the financial transactions through banking agents in Thailand in order to study the factors that affect the recognition and use of the service through the bank agent. The data were gathered via online questionnaires with non-probability sampling and the convenience sample comprised 793 participants who had used the internet. So, using the method of specifying the sample by opening the table in case the exact population is not known, and analyzed through correlation analysis to test the hypotheses. The findings indicated that financial transactions go through bank counters on a regular basis, and the frequency of using the service is related to the use of all bank agents at the level -.176(**), -.085(*), -.081(*), -.081(*) respectively. From the study, it will be noted that the relationship value is negative, meaning that if using the service at the bank counter regularly, will not use the bank agent service as for the comments on convenience, speed and confidence, safety is a relationship with all bank representative services. Policy recommendations from this research study showed that the safety and confidence of service users is essential. So, the transactions on the internet should be safe and serve users better, as well as the monitoring bank agent in accordance with the growth of this transaction and the formulation of policies that are promoted, open or allowed to have more bank representatives as well as other similar transactions that will increase the household and community economies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เศรษฐกิจดิจิทัล
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/295
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EC-DE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narin Loetrueangnapha.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.