Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอำภาพร นามวงศ์พรหม, นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์-
dc.contributor.authorนิตยา สุนทรานนท์-
dc.date.accessioned2022-01-14T08:55:22Z-
dc.date.available2022-01-14T08:55:22Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/307-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความทุกข์ใจ คุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างความทุกข์ใจกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบาบัด เลือกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 94 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบคัดกรองความทุกข์ใจ (Distress Thermometer) และแบบประเมินคุณภาพชีวิต (EORTC QLQ-C30 V.3) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย Spearman Rank Correlation ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีความทุกข์ใจระดับปานกลางถึงสูง ร้อยละ 67 ปัญหาทางกายเป็นสาเหตุของความทุกข์ใจมากที่สุด คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยอ้างอิง คุณภาพชีวิตด้านการทำหน้าที่รายด้านพบว่า การทำหน้าที่ด้านร่างกาย การทำหน้าที่ด้านการรับรู้ การทำหน้าที่ด้านสังคม อยู่ในระดับต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยอ้างอิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบว่าการทำหน้าที่ด้านอารมณ์มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยอ้างอิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) ในขณะที่การทำหน้าที่ด้านบทบาทไม่แตกต่างกัน เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความทุกข์ใจกับคุณภาพชีวิต พบว่าความทุกข์ใจมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.374, p = .000) ข้อเสนอแนะทางการพยาบาลควรมีการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัดที่แผนกผู้ป่วยนอก โดยให้มีการประเมินความทุกข์ใจและปัญหาต่างๆเพื่อการวางแผนการดูแลหรือส่งต่อทีมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นำไปสู่การช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectมะเร็งระยะลุกลามen_US
dc.subjectเคมีบำบัด -- การใช้รักษา -- ผู้ป่วย -- วิจัยen_US
dc.subjectผู้ป่วย -- คุณภาพชีวิต -- วิจัยen_US
dc.titleความทุกข์ใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeDistress and quality of life of patients with advanced cancer undergoing chemotherapyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis descriptive research aimed to investigate distress, quality of life, and correlation distress and quality of life and relationship between distress and quality of life in patients with advanced cancer undergoing chemotherapy. A purposive sample of 94 patients with advanced cancer was recruited for this study. Data were collected by using Distress Thermometer comprised and EORTC QLQ-C30-THAI V.3. Descriptive statistics, One sample t-test and Spearman Rank Correlation were used to analyze data. The finding showed that distress score of 67% of the patients were at a moderate to high levels. Physical problem were primary causes of distress. Global health status/ quality of life was lower than that of the reference mean. Regarding the aspects of quality of life, physical functioning, cognitive and social functioning were significantly than those of reference mean. However role functioning was significantly higher than that of the reference mean (p = .000) While there was no significantly different for the role functioning. Distress and quality of life were significantly correlated at a low level (r = .374, p = .000). The development of nursing service system in caring of patients with advanced cancer in clouding distress assessment, problems, and appropriate referring is suggested.en_US
dc.description.degree-nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่en_US
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nittaya Suntharanon.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.