Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/361
Title: การวิเคราะห์การเล่าเรื่อง และการใช้ภาษาภาพยนตร์ ของ พิง ลำพระเพลิง
Other Titles: Narrative analysis and the use of film language of Ping Lumprapleng’s movies
Authors: รัฐวุฒิ มะลิซ้อน
metadata.dc.contributor.advisor: ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค
Keywords: ภาพยนตร์ -- การวิจารณ์;การเล่าเรื่อง;การวิจารณ์ภาพยนตร์ -- วิจัย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะวิธีการเล่าเรื่องใน ภาพยนตร์ของ พิง ลำพระเพลิง และเพื่อศึกษาการใช้ภาษาภาพยนตร์ของ พิง ลำพระเพลิง โดย ระเบียบวิธีวิจัย ใช้การวิเคราะห์ตัวบท โดยมีภาพยนตร์ที่นำมาศึกษา จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง โคตรรักเองเลย, คนหิ้วหัว, ฝันโคตรโคตร, และ สามย่าน ผลจากการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์มีลักษณะวิธีการเล่าเรื่องดังนี้ 1. แก่นความคิด ส่วนใหญ่ เน้นสื่อสารว่า ชีวิตยังมีความหวังและมนุษย์ไม่ควรยอมพ่ายแพ้ 2. ความขัดแย้ง มักเกี่ยวข้องกับ เรื่องราวความรัก ของคู่รัก หรือคู่สามีภรรยา 3. ตัวละคร พบได้ใน 2 ลักษณะ คือ ตัวละครผู้กระทำ และตัวละครประเภทผู้ถูกกระทำ 4. ฉาก พบว่ามี 2 ชนิด คือ ฉากธรรมชาติ และฉากประดิษฐ์ 5. โครงเรื่อง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น โครงเรื่องแบบไม่เรียงลำดับเหตุการณ์ 6. มุมมองการเล่า เรื่อง จะพบได้ 2 ลักษณะคือ การเล่าเรื่องจากจุดยืนที่เป็นกลาง และการเล่าเรื่องแบบรู้รอบด้าน 7. สัญลักษณ์พิเศษ พบว่าภาพยนตร์ทั้งหมดมักใช้สัญลักษณ์พิเศษเพื่อสื่อถึงพลังแห่งความรัก และพลัง ศรัทธาในความฝันของตัวละคร และ 8. การสร้างอารมณ์ขัน พบว่า มี 3 ลักษณะคือ ตลกล้อเลียน ตลกเจ็บตัว และตลกแบบไร้เดียงสา สำหรับผลวิจัยเรื่องการใช้ภาษาภาพยนตร์ พบว่า 1. ด้านแสงและเงา มักเน้นการจัดแสง 3 แบบ คือแบบไฮคีย์ แบบโลว์คีย์ และแบบใช้ทิศทาง 2. ด้านการใช้สี พบว่า มักเน้นการใช้สีโทนร้อน เนื่องจาก ให้ความรู้สึกตื่นตาและมีพลัง 3. ด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ พบว่า มักมีการใช้ มุมกล้อง แบบปานกลาง เป็นส่วนใหญ่ และมีการเคลื่อนกล้องเพียงเล็กน้อย 4. ด้านการตัดต่อ มักมีการใช้ เทคนิคการตัดต่อ 2 ลักษณะคือ การตัดต่อแบบสลับเหตุการณ์ และการตัดต่อแบบต่อเนื่อง และ 5. ด้านเสียง มักให้ความสำคัญกับเสียงสนทนา ที่เป็นธรรมชาติ และมักมีการใช้เสียงเพลง ที่มีเนื้อ ร้องสอดคล้องกับเรื่องราวของภาพยนตร์
metadata.dc.description.other-abstract: This qualitative research was conducted to investigate the narrative methods and the film language of movies directed by Ping Lamprapleng. The research methodology included the script analysis. The samples were four movies: Loveaholic, Khon Hew Hua, Dreamaholic, and Sam Yan. The result revealed that his movies emphasized the presentation of the theme of living in hope and love and conflict between a husband and a wife. Both active and passive characters were found in his movies. Two types of movie scenes were found: natural scenes and manmade scenes. Most plots were found to have non-chronological structure. The movies emphasized two narrative points of view: first person and third person omniscient. The movies were also found to use symbols symbolizing the power of love, faith, and dreams of the characters. The movies also presented three forms of humor: satire, physical mishap, naivety. The results of film language revealed that there were three lighting effects: low key, high key, and directionality. In terms of color, the movies emphasized warm colors that evoked energy and optimism. In terms of cinematography, it was found that the medium shots were mainly used with a little camera movement, and two editing techniques were found: continuity and cross cutting. Finally, in terms of sound, the movies emphasized the use of natural dialogue sounds and the use of songs of which lyrics were consistent with the stories narrated through the movies
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/361
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-FTWD-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattawuth Malisorn.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.