Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/372
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ลักษณา คล้ายแก้ว | - |
dc.contributor.author | คุ้มเกล้า ดิษฐศิริ | - |
dc.date.accessioned | 2022-01-20T06:49:25Z | - |
dc.date.available | 2022-01-20T06:49:25Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/372 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารเพื่อนำเสนอตัวตนและพัฒนาความสัมพันธ์ ผ่านทางแอปพลิเคชัน ทินเดอร์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา การสื่อสารเพื่อนำเสนอตัวตนของผู้ใช้ทินเดอร์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารเพื่อพัฒนา ความสัมพันธ์ของผู้ใช้ทินเดอร์ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นผู้ใช้ทินเดอร์ชาวไทย ชายและ หญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี เป็นช่วงอายุของกลุ่มคนรุ่นใหม่ (มิลเลนเนียลส์) ซึ่งอาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร มีความสนใจในเพศตรงข้าม และมีประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชันทินเดอร์ ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้ใช้ทินเดอร์ชาวไทย เพศชายและหญิง อายุ ระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 100 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งใช้การเลือกแหล่งข้อมูลตามสะดวก และอาศัยเครือข่าย โดยทำการติดต่อผู้ที่สะดวกและยินยอมให้ สัมภาษณ์ ประกอบด้วยเพศชาย 4 คน เพศหญิง 4 คน และคู่รักที่พบกันผ่านแอปพลิเคชันทินเดอร์ จำนวน 1 คู่ รวมจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด 10 คน การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมี ส่วนร่วมเพื่อสามารถเข้าศึกษา สังเกตถึงวิธีการใช้งาน ลูกเล่นต่าง ๆ ภายในแอปพลิเคชันทินเดอร์ รวมถึงเพื่อทดลองพูดคุยกับผู้ใช้ทินเดอร์ท่านอื่น ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึก การสื่อสาร ต่าง ๆ ที่เอื้อให้เกิดการสื่อสารนำเสนอตัวตนและพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีภายในชุมชนเสมือนจริงทิน เดอร์และเก็บเกี่ยวข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยนี้ ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้ทินเดอร์เพศชายและเพศ หญิง มีการสื่อสารนำเสนอตัวตนโดยถ่ายทอดผ่านการใช้สัญญะ จนเป็นอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่ง การวิจัยสามารถสรุปได้ถึงรูปแบบและเนื้อหาที่ผู้ใช้ทินเดอร์นิยมใช้ในการสื่อสารนำเสนอตัวตนได้ 2) ผู้ใช้ทินเดอร์มีการพัฒนาความสัมพันธ์ด้วยปัจจัยซึ่งส่งเสริมการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยพบว่าเพศ ชายและเพศหญิงที่แตกต่างกัน ควบคู่ไปกับพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สลับกันมีบทบาท และอำนาจ ซึ่งเกิดจุดเปลี่ยนในความสัมพันธ์ ที่ส่งผลให้เกิดขั้นของความสัมพันธ์ขึ้น | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | การนำเสนอตัวตน | en_US |
dc.subject | การสื่อสาร -- แง่จิตวิทยา | en_US |
dc.subject | แอปพลิเคชั่น -- การพัฒนา -- วิจัย | en_US |
dc.title | การสื่อสารเพื่อนำเสนอตัวตนและพัฒนาความสัมพันธ์ผ่านทางแอปพลิเคชันทินเดอร์ | en_US |
dc.title.alternative | Communication on tinder application: self presentation and relationship development | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This research aimed to investigate Tinder application users’ self-presentation and their communication via the application to develop their relationship with their interlocutors. The research focused on a population who was Thai male and females aged 25-35 years with interest in the opposite sex, resided in Bangkok, and used Tinder application for at least 1 month. Through the purposive sampling method, quantitative data were obtained from 100 samples who completed an online questionnaire via Google Form. Qualitative data were obtained through in-depth interviews with ten key informants including four males, four females, and a couple who succeeded in love on Tinder application. Participant observation was also employed to explore features on Tinder application and to have conversations with other Tinder users in order to experience the real emotions and feelings and discover how Tinder users presented themselves and how they developed relationship with their interlocutors of the opposite sex on Tinder application. The result revealed that male and female users of Tinder conducted self-presentation through the use of symbols reflecting different identities. Through interchangeable roles and power, male and female Tinder users were found to develop relationship using different communication factors leading to a turning point in their relationship causing layers of relationship | en_US |
dc.description.degree-name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | นิเทศศาสตร์ | en_US |
Appears in Collections: | CA-CA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kumklao Dithasiri.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.