Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/420
Title: การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของชาย่านางแดงกับชารางจืด ในการถอนพิษยากลุ่มอนุพันธ์แอมเฟตามีน ในอาสาสมัครที่โรงพยาบาลจะแนะ
Other Titles: Comparative study of effectiveness of bauhinia strychnifolia versus thunbergia laurifolia tea for the detoxification of amphetamine derivatives addicted patients in Chanae Hospital
Authors: โซฟียะห์ วาเต๊ะ
metadata.dc.contributor.advisor: ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา
Keywords: ย่านางแดง(พืช) -- วิจัย;รางจืด -- สารสกัด -- วิจัย;แอมเฟตามีน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Eeperimental Research) เพื่อ ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบอาการถอนยาแอมเฟตามีนในร่างกายของผู้เสพยา และเพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารแอมเฟตามีนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ ในกลุ่มที่ใช้ชาย่านางแดง (Bauhinia strychnifolia Craib.) กลุ่มที่ใช้ชารางจืด (Thunbergia laurifolia Linn.) และกลุ่มที่ใช้น้ำเปล่า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ เสพสารเสพติดสารอนุพันธ์แอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นผู้ป่วยนอกคลินิกฟ้าหลังฝน โรงพยาบาลจะแนะ จังหวัดนราธิวาส และผู้เสพสารเสพติดอนุพันธ์แอมเฟตามีน ที่ดำเนินการคัด กรองและค้นหาเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยจิตอาสาญาลันนันบารู อำเภอจะแนะ จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มๆละ 10 คน ในรูปแบบผู้ป่วยใน โดยคัดเลือกแบบจับคู่ (matched pair) จัดกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม ให้มีเพศ อายุ ระยะเวลาในการใช้ ครั้งสุดท้ายที่ใช้ยาเสพติด ปริมาณที่ใช้ ครั้งสุดท้ายที่ใช้อนุพันธ์แอมเฟตามีนให้ใกล้เคียงกัน วิเคราะห์ตัวแปรปรวนของข้อมูล เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Kruskal – wallis test และเปรียบเทียบ ความแตกต่างภายในกลุ่มก่อนและหลังทดลอง โดยใช้สถิติ Wicoxon Signed Ranks จากผลการศึกษาประสิทธิผลของชาย่านางแดง ชารางจืด และน้ำเปล่า การลดอาการ ถอนพิษยา (Withdrawal) ในอาสาสมัครที่เสพอนุพันธ์สารแอมเฟตามีนในภาพรวมโดยรวม 7 วัน พบว่ากลุ่มที่ใช้ชาย่านางแดง มีค่าเฉลี่ยลดลงมากที่สุด เท่ากับ 0.61 รองลงมาคือกลุ่มที่ใช้ชารางจืด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.66 และกลุ่มที่ได้ใช้น้ำเปล่า จะมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 0.68 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนอาการถอนแอมเฟตามีนระหว่างวันที่ 1 กับวันที่ 7 พบว่ากลุ่มที่ใช้ชาย่านางแดง กับ กลุ่มที่ใช้ชารางจืด มีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ(P=0.005) ส่วนกลุ่มที่ใช้น้ำเปล่า มีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P=0.021) ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มที่ใช้ชาย่านางแดง กับ กลุ่มที่ใช้ชารางจืด อาการถอนแอมเฟตามีนในวันที่ 1 เทียบกับวันที่ 7 ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำเปล่า แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยรวมของอาการถอนพิษยาแอมเฟตามีนระหว่างกลุ่มที่ใช้ชาย่านางแดง ชารางจืด และน้ำเปล่า ในวันที่ 1-7 พบว่าในแต่ละวัน ในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีการทั้ง 3 วิธี อาการถอนพิษแอมเฟตามีนมีคะแนน ค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบการขับแอมเฟตามีนออกจากร่างกาย พบว่าค่าเฉลี่ยระดับ แอมเฟตามีนในปัสสาวะ ในวันที่ 1, 3, 5, 7 เพื่อทดสอบประสิทธิผลของชาย่านางแดง และชารางจืด ต่อการขับแอมเฟตามีนออกจากร่างกาย พบว่ารางจืดสามารถขับปริมาณอนุพันธ์สารแอมเฟตามีนใน ปัสสาวะได้ดีที่สุด รองลงมาคือย่านางแดง และทั้งสองกลุ่มตรวจอนุพันธ์สารแอมเฟตามีนไม่พบใน วันที่ 5 ส่วนกลุ่มที่ใช้น้ำเปล่ายังตรวจพบสารอนุพันธ์สารแอมเฟตามีในวันที่ 5 และพบว่ามี อาสาสมัครขอถอนตัวจากการศึกษาวิจัย 1 ราย ในวันที่4 เนื่องจากมีอาการถอนพิษยา มีภาวะเครียด ซึมเศร้า อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง อาเจียน มีอาการอยากยา และไม่สามารถทนอยู่ต่อได้
metadata.dc.description.other-abstract: This study used quasi experimental research method to study the comparison of withdrawal symptom of amphetamine in addicted people and to compare the amount of amphetamine elimination in urine in subjects who used Bauhinia strychnifolia tea, in subjects who used Thunbergia laurifolia tea and in subjects who drank water. Thirty subjects in this study were people who addicted to amphetamine and willing to obtain treatment as out patient “Sky after the rain” at Janae hospital in Narathiwat province and the patients who addicted to amphetamine were collected from “Yalannunbaru” program at Janae district. The subjects were divided into 3 groups, 10 subjects per group, inpatient care group who admitted to the hospital, and were chosen by matched pair. The chosen criterias of subjects in experimental and control groups were nearly matched which were sex, age, duration of addiction, last date of using drug, the amount of amphetamine which used at last time. The study results were analyzed between experimental and control groups, before and after treatment by using Kruskal – wallis test and compare the different among groups (before and after) by using Wicoxon Signed Ranks. From study results of potential of Bauhinia strychnifolia, Thunbergia laurifolia tea and water in decreasing withdrawal effect in subjected who addicted to amphetamine for 7 days, subjects who used Bauhinia strychnifolia tea group showed great reduced in withdrawal effect at 0.61 while those who used Thunbergia laurifolia tea demonstrated a few higher value at 0.66. The group that used water showed highest value at 0.68. When comparing the withdrawal score between day 1 and day 7 of subjected who used Bauhinia strychnifolia tea and Thunbergia laurifolia tea, the average value decreased significantly((P=0.005). Subjected who drank water also had the average value decreased significantly (P=0.021) but the average value on day 1 and day 7 was less than the other two groups. When compare the withdrawal symptom among three groups in day 1 to day 7, there were no different in withdrawal scores. When considering the elimination of amphetamine in urine, the results showed that group which used Thunbergia laurifolia tea was the best group which demonstrated the higher amount of the elimination of amphetamine in urine. The modest group were subjects who used Bauhinia strychnifolia tea after obtained in day 1, 3, 5, and 7. In addition, these two groups were not found amphetamine in urine on day 5, while those who used water also detected amphetamine derivatives on day 5
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การแพทย์แผนตะวันออก
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/420
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ort-OM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sofiyah Wateh.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.