Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/511
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัณย์ ธิติลักษณ์-
dc.contributor.authorเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร-
dc.date.accessioned2022-02-18T02:12:52Z-
dc.date.available2022-02-18T02:12:52Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/511-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของเกษตรกรและการปรับตัวของเกษตรสวนมะพร้าว 2) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรสวนมะพร้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ 3) หาแนวทางเพิ่มรายรับให้กับเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวน 400 ตัวอย่าง จากกลุ่มประชากรผู้ปลูกมะพร้าว อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ผู้บริหารโรงงานผลิตกะทิ และนักวิชาการด้านการส่งเสริมการเกษตร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาที่เกิดต่อเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ในภาพรวมจากมากไปหาน้อย คือ ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาศัตรูพืช ส่วนการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว คือ การปรับตัวด้านสังคม การปรับตัวด้านการเกษตร และการปรับตัวด้านเศรษฐกิจ 2) แนวทางเพื่อเพิ่มรายรับให้กับเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว คือ จัดให้มีโครงการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวให้มากพอที่จะป้อนโรงงานอุตสาหกรรมได้ เจรจาให้ทุกโรงงานอุตสาหกรรมร่วมมือกันที่จะไม่นำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ โดยรับซื้อผลผลิตจากโครงการในราคาประมาณ 8 บาท ถึง 10 บาท และ 3) แนวทางที่จะเพิ่มรายรับให้เกษตรกรชาวสวนมะพร้าว พบว่า ทำได้โดยการส่งเสริมเกษตรกรในการปลูกมะพร้าวให้ได้จำนวนผลผลิตต่อไร่มากขึ้น เช่น การปลูกทดแทนและการติดตั้งระบบน้ำในสวนให้คำแนะนำและสร้างการรับรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวเพื่อให้ผลผลิตมะพร้าวต่อไร่สูงขึ้นการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการสวนมะพร้าวแก่เกษตรกรเจ้าของสวนมะพร้าวอย่างเป็นรูปธรรม และการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรักษ์และใส่ใจในการจัดการดูแลสวนมะพร้าวen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectมะพร้าว -- การผลิตen_US
dc.subjectมะพร้าว -- การตลาดen_US
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค -- ประจวบคีรีขันธ์en_US
dc.titleการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวของผู้ปลูกมะพร้าวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของตลาดโรงงานผู้ผลิตกะทิ : กรณีศึกษาอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์en_US
dc.title.alternativeCoconut productivity promotion to serve the needs of coconut milk manufacturers: a case study of Thap Sakae District, Prachuap Khiri Khan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe objectives of this research were to 1) explore the problems and the self-adjustment of coconut farmers, 2) discover approaches to the enhancement of coconut productivity to serve the demand of medium and large industrial manufacturers, and 3) discover approaches to the increase of coconut farmers’ income. This study was conducted using mixed methods. In the quantitative part, 400 coconut farmers residing in Thap Sakae District, Phrachuap Khiri Khan Province, were selected to be the samples using a stratified random sampling method, and the descriptive statistics was used in the data analysis. In the qualitative part, the data were collected from key informants who were coconut farmers, coconut milk manufacturing executives, and academics through indepth interviews. Then, the data were analyzed using the content analysis. The results of the study revealed that the coconut farmers’ problems, ranged from the most to the least problematic, were a continuous decrease in coconut price, drought, and destructive coconut pests. Considering the coconut farmers’ self-adjustment, it was found that the coconut farmers must adjust themselves to the changing society as well as national economic situations. In order to increase the coconut farmers’ income, a project aimed at enhancing coconut productivity must be initiated along with the collaboration from the industrial sector. This could help reduce the import of coconuts and encourage the purchase of coconuts from local farmers at a reasonable price of 8 – 10 baht. Furthermore, coconut farmers were suggested to plant more coconut trees as well as create waterways in their farms to enhance the productivity. Finally, coconut farmers should be instructed and encouraged to use modern technology for better coconut production.en_US
dc.description.degree-nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kieatisak Theppadungporn.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.