Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/570
Title: | ระบบเครดิตทางสังคม กรณีศึกษา ธนาคารความดี ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี |
Other Titles: | Social credit system : a case study of Nong Sarai social banking, Phanom Thuan District, Kanchanaburi |
Authors: | อาทิตย์ วันนารี |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช |
Keywords: | ความดี -- วิจัย;สังคม -- ไทย -- กาญจนบุรี;การบริหารคนดี;การพัฒนาสังคม |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาทและความสำคัญของระบบเครดิตทางสังคม โดยมุ่งเน้นศึกษาถึงประโยชน์ ปัญหาและ อุปสรรค รวมถึงปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระบบดังกล่าวประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้ศึกษาผ่าน กรณีศึกษาธนาคารความดีตำบลหนองสาหร่าย โดยการเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์จำนวน 20 คน รวมถึงข้อมูลจากเอกสาร ซึ่งผลการวิจัยนี้พบว่าประโยชน์ของระบบเครดิตทางสังคม คือ การ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ลดความเลื่อมล้ำทางสังคม สนับสนุนการทำดี สร้างสังคมดีและมีระเบียบ ส่วนปัญหาและอุปสรรคของระบบดังกล่าว คือ ระบบเครดิตทางสังคมเป็นระบบแนวคิดใหม่และ ยังไม่เป็นที่รู้จัก สังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศที่ยังไม่ทันสมัย การ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ความปลอดภัยของข้อมูลและกฎหมายที่ยังไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้งานวิจัย นี้ยังได้ค้นพบว่าหากมีการนำระบบเครดิตทางสังคมมาใช้จริงในประเทศไทยปัจจัยหลักที่ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาเพื่อทำให้ระบบดังกล่าวได้รับการยอมรับ คือ พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศให้ทันสมัย ยกระดับการศึกษาและทำความเข้าใจของคนในสังคม แก้ไขกฎหมายและ บทลงโทษเพื่อเอื้อต่อการดำเนินการของระบบ รัฐต้องมีบทบาทให้มากขึ้นทั้งในส่วนของนโยบาย กลยุทธ์ และปฏิบัติการ รวมถึงจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา |
metadata.dc.description.other-abstract: | This qualitative study aimed to investigate and understand the roles and significance of Social Credit System (SCS). The study put an emphasis on identifying benefits, issues and key success factors associated with the systems. The study targeted at Nong Sarai’s Social Banking. Data were collected through interviews with twenty informants and documentary analysis. The findings showed that, in terms of benefits, SCS helped people to get an access to capital investment, reduced income gap, and supported good deeds while establishing a good society and keeping it order. The major limitation was the SCS was a new concept and not be widely accepted. Other limitations were social and culture difference, less advanced information technology, privacy concerns, security, and unsupportive laws and regulations. The result indicated that the system could be successfully implemented in Thailand with attention to some factors, such as the improvement of information technology and education and the improvement of related laws and regulations. Importantly, the government was recommended to play a crucial role in the determination of policy and strategies and take part in operation. It was also imperative to establish a collaborative culture where people could work together to solve problems |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เศรษฐกิจดิจิทัล |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/570 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EC-DE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Artit Wannaree.pdf | 6.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.