Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/573
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล |
Other Titles: | Factors influencing exchange rate in the digital economy age |
Authors: | พัชราภรณ์ ศอกจะบก |
metadata.dc.contributor.advisor: | วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์ |
Keywords: | อัตราแลกเปลี่ยน;อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา;เศรษฐกิจดิจิทัล |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของ 2 ช่วงเวลา คือ ยุคก่อนดิจิทัล (ช่วงปีพ.ศ. 2543-2547) และยุคดิจิทัล (ช่วงปี พ.ศ. 2557– 2561) โดยใช้ข้อมูลรายเดือนของ 2 ช่วงเวลา คือ ยุคก่อนดิจิทัลและยุคดิจิทัล โดยกระบวนการคือ (1) ทดสอบความนิ่งของข้อมูล (2) ทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว (3) ทดสอบการปรับตัวในระยะสั้น (4) ความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปร และ (5) ทดสอบการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า ความนิ่งของ 2 ช่วงเวลา คือ 1) ยุคก่อนดิจิทัล และ 2) ยุคดิจิทัล ตัวแปรมีคุณสมบัติเป็นทั้ง I(0) และ I(1) ดังนั้นวิธีการทดสอบความสัมพันธ์ระยะยาวที่เหมาะสม คือ Autoregressive Distributed Lag (ARDL) ในส่วนของความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวยุคก่อนดิจิทัล พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค, ปริมาณเงิน, ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย, ดุลบัญชีทุน และดัชนีราคาหุ้นมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ยุคดิจิทัล พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค, ปริมาณเงิน, ดุลบัญชีทุน, และดัชนีราคาหุ้น มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาวของยุคก่อนดิจิทัล พบว่า อัตราแลกเปลี่ยนจะปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวหลังจากถูก Shock จากภายนอก ในอัตราร้อยละ 47.75 ของการเบี่ยงเบน ในงวดถัดไป ในขณะที่ยุคดิจิทัล พบว่า อัตราแลกเปลี่ยนจะปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวหลังจากถูก Shock จากภายนอก ในอัตราร้อยละ 43.78 ของการเบี่ยงเบน ในงวดถัดไป ในส่วนของการทดสอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน พบว่า ผลกระทบของปริมาณเงินต่ออัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์สหรัฐ) ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบผลประมาณการระหว่างยุคก่อนดิจิทัล และยุคดิจิทัล จึงแนะนำว่าไม่ควรนำข้อมูลก่อนยุคดิจิทัลมาใช้ประโยชน์สำหรับการคาดการณ์ในยุคดิจิทัล เนื่องจากโครงสร้างการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research aims to study and compare the structure of exchange rate determination between the 2 periods: the pre-digital (2000-2004) and the digital age (2014– 2018). Monthly data of the 2 periods were used for the estimation. The methodology includes (1) Stationarity Test (2) Cointegration Test (3) Error Correction Model estimate (4) Granger Causality Test and (5) Test for Structural Changes. The results indicate that the stationarity of the variables of the 2 periods are the mixes of both I(0) and I(1). Therefore, the Autoregressive Distributed Lag (ARDL) model is appropriate for testing the long-run Cointegration and short-run adjustment. The results indicate that, for pre-digital age, the consumer price index, money supply, industrial production index, interest rate, capital account balance and stock price index had a significant effect on Exchange rate (Baht / US dollars). While the for digital age (2014– 2018), results indicate that the consumer price index, money supply, capital account balance, and stock price index had a significant impact on exchange rates (Baht / US dollars). The short-run adjustments show that, for the pre-digital period, the exchange rate adjusted to return to its long-run equilibrium at the rate of 47.75% of the deviation due to external shock, while for digital age, the exchange rate adjusted at the rate of 43.78% of the deviation to move back to long-run equilibrium in subsequent period. As for the test for structural change, it was found that, the impact of money supply on exchange rate determination during digital age was significantly different from that of pre-digital age. This finding suggests that the data of pre-digital age should not be used for forecasting purpose in the digital age because of structural change in exchange rate determination |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เศรษฐกิจดิจิทัล |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/573 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EC-DE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patcharaporn Sokchabok.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.