Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/603
Title: | กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดการเรียนรู้ขององค์กร |
Other Titles: | Strategy for development of the armed forces academies preparatory school based on the concept of organizational learning |
Authors: | ราตรี ต๊ะพันธุ์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | อัญชลี ชยานุวัชร |
Keywords: | องค์กรแห่งการเรียนรู้;โรงเรียนเตรียมทหาร;กลยุทธ์การเรียนรู้ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดและองค์ประกอบการเรียนรู้ขององค์กร 2) ศึกษาองค์ประกอบองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดการเรียนรู้ขององค์กร ตามสภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นจริง 4) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูล 4 ระยะ ประชากร คือ บุคลากรโรงเรียนเตรียมทหาร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 900 คน หากลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณ Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูลจานวน 320 คน ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารและหัวหน้างานใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มบุคลากรใช้วิธีสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือใช้ แบบสอบถาม แบบประเมิน การสนทนากลุ่ม การวิพากษ์ สถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI modified และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดและองค์ประกอบการเรียนรู้ขององค์กร มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การเป็นผู้นำการเรียนรู้ นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้การมีวิสัยทัศน์ร่วม การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) องค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ระดับองค์กร ระดับกลุ่ม/ทีม ระดับบุคคล 3) การวิเคราะห์สภาพภายใน จุดแข็ง คือ การเป็นผู้นำการเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และจุดอ่อน คือ การเรียนรู้การมีวิสัยทัศน์ร่วม นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สภาพภายนอกที่เป็นโอกาส ได้แก่ นโยบาย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย/ความดีงาม องค์กร/สังกัด และภาวะคุกคาม ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สภาวะแวดล้อม 4) กลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาประกอบด้วย การเป็นผู้นำการเรียนรู้ นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้การมีวิสัยทัศน์ร่วม การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อเสนอแนะการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ 1) การปรับเปลี่ยนการเรียนรู้สู่ยุคดิจิทัล 2) สร้างความเป็นผู้นำองค์กรทุกระดับ 3) สร้างความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ร่วม 4) สร้างวัฒนธรรมใหม่/ในบริบทใหม่ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This study aims at 1) studying the concept and components of organizational learning 2) identifying the significant factors of a learning organization 3) analyzing strengths, weaknesses, opportunities, and threats of the Armed Forces Academies Preparatory School based on the concept of organizational learning in comparison to the actual conditions and the desired conditions 4) proposing the strategies for the development of the School as a learning organization. This study employed the four-phase mixed methods approach. The population consisted of 900 staff members of the School. The sample group of 320 respondents was calculated with Yamane formula. The three sample groups for the questionnaire were composed of the executives and supervisors selected by purposive sampling and general staff selected by simple random techniques. Data collection was conducted by the questionnaires, the evaluation forms, and the focus group discussions, for data analysis, the researcher employed descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, PNI modified Index, and content analysis. The findings revealed that the concept of organizational learning is comprised of seven components, namely, leadership in learning, learning promotion policy, learning support environment, shared vision learning, lifelong learning, and digital technology application learning. Analysis of internal conditions indicated that leadership in learning, culture development learning, and lifelong learning brought about strengths of the school, while weaknesses were in shared vision learning, learning promotion policy, learning support environment, and digital technology application learning. Outside conditions, as opportunities for the school were policy, discipline and goodness, and organization/affiliate, while threats were social, economic, technological and environmental. Seven development strategies were leadership, learning promotion policy, supportive environment, shared vision, lifelong learning, and digital technology. Recommendations for learning organization development focus on 1) Digital transformation learning 2) Leadership building at all levels 3) Commitment in team learning and 4) Creating new cultures in new contexts. |
Description: | ดุษฏีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การศึกษา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/603 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-ES-D-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Captain Ratree Taphun.pdf | 3.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.