Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/617
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตพงษ์ สอนสุภาพ-
dc.contributor.authorวิธุฌา แก้วมโน-
dc.date.accessioned2022-02-20T06:24:09Z-
dc.date.available2022-02-20T06:24:09Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/617-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “แนวความคิดทางการเมืองของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดทางด้านการเมือง ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ และเพื่อศึกษาที่มาของแนวความคิดทางด้านการเมืองของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตลอดจนศึกษาแนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรมของ ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช ในบทบาทของ นักหนังสือพิมพ์ งานวิจัยฉบับนี้ได้ข้อมูลผ่านการรวบรวมจากบทความหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ข้อมูล จากงานหนังสือและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รวมทั้ง การหาข้อมูลการวิจัยจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ การเมืองของสื่อสารมวลชน และทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่าแนวความคิดทางด้านความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และความเข้าใจทั้งทางด้านงานการเมืองและงานหนังสือพิมพ์ ประกอบกับการเป็นผู้มีศิลปะในการใช้ภาษาในบทความจึงทำให้สยามรัฐดำรงอยู่ได้โดยไม่ถูกสั่งปิ ดในยุคเผด็จการทหาร ซึ่งแนวคิดทางการเมืองด้านความจงรักภักดีของท่านเกิดจากชาติกำเนิด แนวความคิดด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของท่าน ได้ซึมซับตั้งแต่ท่านเข้ารับการศึกษาในต่างประเทศ และท่านเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยของไทยด้วยว่าเราไม่สามารถจะมีประชาธิปไตยแบบสากลได้ทันทีจำเป็นต้องพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ในการดำรงรักษาคุณธรรมจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม กฎหมาย จารีตประเพณี และต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง แนวทางการดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมที่ท่านให้ความสำคัญมากที่สุดคือ หนังสือพิมพ์ต้องไม่รับทุน จากนักการเมืองหรือรัฐบาล สิ่งที่จะทำให้หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามกรอบจริยธรรมคือ การทำให้หนังสือพิมพ์ได้รับความนิยมจากประชาชนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectคึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว., 2454-2538 -- ทัศนะเกี่ยวกับการเมืองและสังคมen_US
dc.subjectความคิดทางการเมืองen_US
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครองen_US
dc.titleแนวความคิดทางการเมืองของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชen_US
dc.title.alternativeM.R.Kukrit Pramoj political concepten_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe objectives of this study were to investigate the impact of the political concept of M.R. Kukrit Pramoj on the survival of the Siam Rath Newspaper and to study the origin of his political concept as well as his ethical concept in his role as a journalist. The data were collected from articles published in the Siam Rath Newspaper, books, interviews with those involved with M.R. Kukrit Pramoj, and related documents. The data were analyzed based theories of political economy of mass communication and theories of discourse analysis. The result showed that M.R. Kukrit Pramoj’s royalist ideology, understanding of politics and journalism, and journalistic prowess contributed to the continuity of the newspaper’s operation, preventing it from being shut down by military orders military dictatorship. His political loyalty stemmed from his birth as a member of the royal family while his democratic perspectives originated from his study in foreign countries. He understood that, for Thailand, conversion to international democracy took much time. To preserve journalist ethics and morality, newspapers should take society, law, and culture into consideration. What M.R. Kukrit Pramoj mostly concerned with was how a newspaper refused money from the government or politicians. What contributed to freedom in its professional and ethical practice was a newspaper needed to publicly accepted and become popularen_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Witucha Kaewmano.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.