Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/621
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สังศิต พิริยะรังสรรค์ | - |
dc.contributor.author | อภิษฎา วัฒนะเสวี | - |
dc.date.accessioned | 2022-02-20T06:47:19Z | - |
dc.date.available | 2022-02-20T06:47:19Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/621 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 | en_US |
dc.description.abstract | ดุษฎีนิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการคอร์รัปชั่นในการบริหารสหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด อันนำไปสู่กระบวนการฟอกเงินระหว่างกลุ่มเครือข่ายต่างๆ ที่อาศัยวงจรของศาสนาสถานเป็นช่องทางหลักในการส่งผ่านทรัพย์สินที่ได้จากการคอร์รัปชั่น และค้นคว้าหาแนวทาง การป้ องกันปัญหาการคอร์รัปชั่นในระบบสหกรณ์ที่เหมาะสม งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวิธีการศึกษาแบบสหวิทยาการแนววิพากษ์ โดยตั้งอยู่บนศาสตร์ของความรู้แบบบูรณาการก้าวข้ามพ้นความรู้ที่จำกัดอยู่ในสาขาวิชา ควบคู่กับวิธีการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียกับสหกรณ์ฯ พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ที่สามารถนำความรู้นั้นไปสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า 1) โครงสร้างการบริหารงานสหกรณ์ฯ แห่งนี้มีการสร้างอำนาจการบริหารผูกขาดอยู่ในมือของบุคคลและกลุ่มบุคคลหรือคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่สามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องภายหลังจากสิ้นสุดวาระกลายเป็นจุดอ่อนทำให้ระบบควบคุมการตรวจสอบภายในขาดประสิทธิภาพก่อให้เกิดช่องทางคอร์รัปชั่น 2) กระบวนการฟอกเงินมีห่วงโซ่เชื่อมกันจึงสามารถเชื่อมโยงไปยังนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นๆ ทั่วประเทศที่อยู่ในเครือข่ายของอดีตผู้บริหารสหกรณ์ฯ โดยมีเจตนาเพื่อปกปิดสร้างความซับซ้อนทางธุรกรรมการเงินและนำเงินเข้ากลับสู่ระบบเศรษฐกิจ เสมือนได้มาปกติ ถือว่าเป็ นช่องโหว่ทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด 3) การแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่นเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทุกภาคส่วนในสังคมต้องมีส่วนร่วมในการกำจัดจุดอ่อนปรับปรุงระบบการตรวจสอบและสร้างจุดแข็งเกี่ยวกับหลักเกณฑ์กำกับดูแลด้านธรรมาภิบาลและด้านความเสี่ยง เนื่องจากปัจจุบันการกำกับดูแลสหกรณ์ยังมีความ ผ่อนปรนกว่าหลักเกณฑ์สถาบันการเงินอื่นๆ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ | en_US |
dc.subject | คอร์รัปชั่น | en_US |
dc.subject | การฟอกเงิน -- การศึกษาเฉพาะกรณี -- ไทย | en_US |
dc.title | อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จำกัด | en_US |
dc.title.alternative | Economic crime: a case study of Klongchan Credit Union Cooperative Llimited | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This research aimed to investigate patterns of corruption in Klongchan Credit Union Cooperative Limited which caused money laundering networks supported and facilitated by a temple and to discover an appropriate preventive approach. This research was qualitatively conducted using interdisciplinary methodology basically used in non-boundary research in combination with document analysis and interviews with key informants who were stakeholders of the cooperative and judicial experts to collect data for social benefits. The result revealed that the administrative structure of the cooperative was monopolized by a group of administrative committees who still remained in their positions after their terms. This weakened the internal audit system resulting in corruption. The money laundering process was found to connect to other juristic persons or parties around Thailand who were in the network of its former administrators. Caused by gaps in the Civil and Commercial Code related to the investigation of the transaction of illegally obtained money, the money laundering was aimed to conceal the origins of illegally obtained money and to return the laundered money to the national economic cycle. The research recommended public, private, and civil society organizations participate in the improvement of the audit system and strengthen the regulatory measures related to good governance and risk management since the regulations applied to the administration of cooperatives in Thailand are more feasible than those of other types of financial institutions. | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง | en_US |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Apisada Watthanasawee.pdf | 5.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.