Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/625
Title: | ภาวะผู้ตามกับการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคประชาสังคมไทย |
Other Titles: | Followership on social movements in Thai civil soiciety |
Authors: | ดารินทร์ กำแพงเพชร |
metadata.dc.contributor.advisor: | ศรันย์ ธิติลักษณ์ |
Keywords: | ภาวะผู้ตาม;ประชาสังคม -- ไทย;การเคลื่อนไหวทางสังคม |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาภาวะผู้ตามในมิติของการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคประชาสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการก่อรูปทางความคิดและพลวัตรของภาวะผู้ตามในภาคประชาสังคมไทยในการเคลื่อนไหวทางสังคมไทย 2) เพื่อศึกษารูปแบบการตามแบบของไทย 3) เพื่อศึกษาอำนาจนำของผู้ตามที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์ทฤษฎีเชิงวิพากษ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ Purposive จำนวน 20 คน พบว่า การก่อรูปทางความคิดและพัฒนาการของภาวะผู้ตามเป็นการเผยตัวและการปรากฏตัวขึ้นของ นักกิจกรรมในช่วงการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงต่างๆที่มีรากฐานมาจากแนวความคิดเชิงอุดมการณ์ในการเป็นการเมืองภาคประชาชน โดยรูปแบบพลวัตรภาวะการตามแบบไทยนั้น กลุ่มคนที่เคยร่วมชุมนุมยังอยู่และมีการติดต่อประสานงานและสื่อสารข้อมูลกันผ่านช่องทาง Social Media แทน นอกจากนี้ รูปแบบการตามแบบของภาคประชาสังคมไทยมีลักษณะเป็นการตามแบบชักใยอยู่เบื้องหลังที่สามารถชี้นำแกนนำได้ ซึ่งผู้ตามแบบไทยนี้จะมีลักษณะความเป็นผู้นำทางความคิดและเป็นผู้นำตนเอง มีความพร้อม มีศักยภาพ มีอิสระ อนึ่ง อำนาจนำของผู้ตามเกิดจากจิตใจที่เด่นชัดของผู้ตาม และกุญแจสู่ความเป็นแกนนำที่ดีก็คือการมีประสิทธิภาพสูงของผู้ตาม เป็นการสนับสนุนอย่างแรงหรือการยืนหยัดเพื่อต่อสู้ร่วมกับแกนนำและเดินไปด้วยกัน ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของผู้ตาม(Followership Outcomes) ที่ทำงานสอดประสานกัน ทั้งนี้มวลชนมีพฤติกรรมการรวมหมู่แบบใหม่ ไม่ยึดติดแกนนำและเป็นการตามแบบเบื้องหลัง คนเหล่านี้ทำหน้าที่ต่าง ๆ กันตามศักยภาพหรือทุนเดิมทางสังคมของตนเอง ความกล้าของผู้ตามทำให้ผู้ตามมีอำนาจนำในตัวเอง ความพร้อมและความกล้าเหล่านี้ทำให้สามารถผลักดันและชักนำทางความคิดต่อแกนนำได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of the study on the followership social movements in civil society in Thailand were 1) to study the concept formation and dynamics of the followers making social movement, 2) to study the Thai-style pattern of followership; and 3) to study the impact of empowerment of the followers towards social change. This research was conducted using qualitative method gathering the data through documents, critical theory analysis and in-depth interview of the 20 informants who were selected by purposive sampling. The results revealed that the concept formation and development of the followership was the appearance and emergence of activists during various political movements rooted in the ideology of people’s politics. According to the dynamics of Thai-style followership, the group of people having attended the demonstration still existed, and they contacted, coordinated and communicated with each other via social media instead. Moreover, the pattern of Thai-style followership of civil society in Thailand was characterized as the followership that was manipulated and was able to direct the leaders. The Thai-style followers were considered as thought leaders and self-leaders with availability, potential, and freedom. The power of the followers was caused by the strong mind of the followers, and the key to the success of the good leaders was having highly effective followers as the supporters who fought together along with the leaders, which was the outcomes of the followers who coordinated each other. However, there appeared to be a new grouping behavior in which the followers followed behind the leaders and did not adhere to the leaders. These people performed different tasks according to their own potential or social capital. The courage of the followers allowed them to have self-power. Due to availability and courage, it was possible for the followers to drive and direct the thought towards the leaders. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/625 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Darin Kamphaengphet.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.