Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/650
Title: | บทประพันธ์เพลงฟอลเลนสตาร์ สำหรับวงดนตรีแจ๊สออร์เคสตรา |
Other Titles: | Fallen star for jazz orchestra |
Authors: | ธรรศ ผ่องนัยเลิศ |
metadata.dc.contributor.advisor: | เด่น อยู่ประเสริฐ |
Keywords: | แจ๊ส -- ดนตรี;เพลง -- การแต่งคำประพันธ์;ดนตรีแจ๊ซซ์ -- การประพันธ์พลง |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | บทประพันธ์เพลงฟอลเลนสตาร์ สำหรับวงดนตรีแจ๊สออร์เคสตราได้สร้างสรรค์ภายใต้ กรอบแนวคิดของการใช้ชีวิต และปรัชญาของพุทธธรรมเข้ามาเป็นหลักในการประพันธ์ ซึ่งให้ ความสำคัญของการสื่อสารถึงเอกลักษณ์ของตัวบุคคลหนึ่ง การเผชิญหน้ากับปัญหา และการ ยอมรับตัวเองเพื่อต่อสู้กับปัญหา โดยผสมผสานลักษณะดนตรีที่มีแนวคิดร่วมสมัยจากดนตรีแจ๊ส ดนตรีละติน และรวมถึงแนวคิดจากดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ 20 มีการบรรเลงคีตปฏิภาณเนื่องจาก เป็นหวั ใจสำคัญในรูปแบบลกั ษณะของดนตรีแจ๊ส โดยสรุปแนวคิดของการประพันธ์ได้ดังต่อไปนี้ บทประพันธ์เพลงฟอลเลนสตาร์สำหรับวงดนตรีแจ๊สออร์เคสตรา ได้บรรลุผลตามที่ผู้วิจัย ตั้งไว้ ซึ่งต้องการสื่อถึงแนวคิดในการใช้ชีวิตรวมถึงการนำเอาพุทธธรรมเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้น โดยแบ่งบทประพันธ์ออกท้้งหมดเป็น 3 ตอน ตอนแรกน้้นเป็นการใช้แนวคิดการวางแนว เสียง และการใช้คอร์ดเข้าหาคอร์ดหลักเป็นสำคัญตอนที่ 2 จะให้ความสำคัญในแง่ของโน้ต 12 เสียง แต่ยัง คงความเป็นดนตรีอิงกุญแจเสียงอยู่ ซึ่งสร้างโดยใช้กลุ่มโน้ตมาจากแถวในตาราง 12 เสียง จนสุดท้ายได้โน้ตท้ังหมด 6 แถว เรียงจากจากเดือน วันและปี เกิดของผู้วิจัยคือ 04 29 และ 86 ตามลำดับ และการสร้างเสียงที่มีความกดดันโดยใช้แนวคิดออสตินาโต ตอนที่ 3 จะเป็นการใช้ แนวคิดการแทนที่จังหวะเข้ามาเป็นแนวคิดหลัก และมีการใช้แนวคิดเดิมที่เคยใช้แลว้ ในจุดต่าง ๆ มาผสมผสานกันในช่วงครึ่งหลังของตอนที่ 3 นี้ เพื่อสื่อถึงประสบการณ์ท้ังหมดในชีวิต บทประพันธ์เพลงฟอลเลนสตาร์สำหรับวงดนตรีแจ๊สออร์เคสตรา ประสบความสำเร็จตาม วัตถุประสงค ์ และขอบเขตที่กำหนดไว้ และเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชนในงานไทยแลนด์อินเตอร์ เนชั่นแนลแจ๊สคอนเฟอร์เรนซ์ โดยวงแจ๊สออร์เคสตราแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
metadata.dc.description.other-abstract: | The Fallen Star for jazz orchestra was composed under the philosophy of life and Buddhism which emphasized the personal identity, the encounters with trauma and sufferings, and the self-acceptance. The composition was done using the combination of the musical ideas from the contemporary jazz as well as Latin and classical music in the 20th century. The song composed could be divided into three sections. The first section focused on the position of chord voicings and the approaching to the main chord. The second section emphasized the use of the twelve-tone music to compose six rows arranged by the month, date, and year of birth of the researcher: 04, 29, and 86, respectively. The last section employed the combination of the concept of the rhythmic displacement as well as the above-mentioned methods to convey the life experience through the Fallen Star. Consequently, the composition was found to fulfil the objectives and was released to the public at the Thailand International Jazz Conference, played by the Jazz Orchestra of Nakhon Ratchasrima Ratchabhat University |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ดศ.ม. (ดุริยางคศาสตร)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/650 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Ms-Music-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thas Phongnailert.pdf | 4.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.