Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/652
Title: | แนวทางการบรรเลงเพลงกลุ่มทรอมโบนในวงบิ๊กแบนด์ : กรณีศึกษาบทประพันธ์เพลงของแซมมี่ เนสติโก |
Other Titles: | Trombone section in Sammy Nestico’s big band compositions |
Authors: | สรพจน์ วรแสง |
metadata.dc.contributor.advisor: | เด่น อยู่ประเสริฐ |
Keywords: | นิสติโก, ซามูเอล หลุยส์ -- บทประพันธ์;บทประพันธ์ -- เพลง;เพลงบรรเลง |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบรรเลงกลุ่มทรอมโบนในวงบิ๊ก แบนด์ ในเรื่องเทคนิคการใช้การควบคุมลักษณะเสียง ความสมดุลเสียงในกลุ่มทรอมโบน และ เทคนิคเฉพาะของทรอมโบน โดยผู้วิจัยเลือกบทประพันธ์เพลงของแซมมี่ เนสติโกจำนวน 2 บทเพลง คือ บทเพลงเอทตี้เอทเบซีสตรีท และบทเพลงวินด์แมชชีน โดยวิเคราะห์จากแผ่นบันทึกเสียงอัลบั้ม เดอะเลกาซีออฟแซมมี้เนสติโก บรรเลงโดย เดอะยูไนเต็ดสเตทอาร์มีฟิลด์แบนด์ และอัลบั้มเบซี คอลลีแซมมี่ บรรเลงโดย เดอะเซาท์เวสต์เรดิโอบิ๊กแบนด์ โดยทั้ง 2 อัลบั้มแซมมี่เนสติโกทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยเพลง จากการวิเคราะห์การบรรเลงกลุ่มทรอมโบนของทั้ง 2 วง พบว่า ในบทเพลงเอทตี้เอทเบซีสตรีทที่มีอัตราความเร็วจังหวะปานกลาง กลุ่มทรอมโบนของเดอะยูไนเต็ดสเตทอาร์มีฟิลด์แบนด์นิยมใช้เทคนิคการสคูปโน้ตในการออกเสียงบ่อยครั้งส่วนกลุ่มทรอมโบนของเดอะเซาท์เวสต์ เรดิโอบิ๊กกแบนด์ นิยมใช้การเน้นเสียงเล็กน้อยพร้อมกับการวิบราโตในการออกเสียง เครื่องหมายรูดเสียงที่ผู้ประพันธ์เพลงกำหนดไว้ ทั้ง 2 วงจะเล่นการรูดเสียงอย่างช้า ๆ และอ่อนหวานสำหรับบทเพลงวินแมชชีนเป็นบทเพลงที่มีอัตราความเร็วจังหวะที่เร็วมาก การควบคุมลักษณะเสียงในเพลงนี้จำเป็นต้องเล่นให้สั้นและคมชัดความเข้าใจในส่วนของจังหวะเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการเล่นบทเพลงอัตราจังหวะเร็ว กลุ่มทรอมโบนของเดอะยูไนเต็ดสเตทอาร์มีฟิลด์แบนด์ใช้การเน้นเสียงที่หนักแน่น ในโน้ตเสียงยาวจะเน้นเสียงแล้วเบาทันที กลุ่มทรอมโบนของเดอะเซาท์เวสต์เรดิโอบิ๊กแบนด์ใช้การเน้นเสียงที่หนักแน่นเช่นกัน แต่โน้ตเสียงยาวจะเน้นเสียงพร้อมกับการสร้างความกว้างของความเข้มเสียงแซมมี่ เนสติโกเป็นทั้งผู้ประพันธ์เพลงและผู้อำนวยเพลงให้กับทั้ง 2 อัลบั้มแต่การถ่ายทอดอารมณ์บทเพลงของทั้ง 2 วงก็มีความหลากหลาย แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวงรวมถึงการตีความบทเพลงและความรู้สึกในการถ่ายทอดบทเพลง การวิเคราะห์นี้เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งเพื่อจะให้เห็นว่า แนวทางการบรรเลงกลุ่มทรอมโบนในกลุ่มทรอมโบนสามารถใช้เทคนิคต่าง ๆ มาเสริมเพื่อให้เกิดความไพเราะในบทเพลง |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this research focus on an investigation of trombone playing styles in a big band setting, balancing the sounds within the trombone section, and trombone playing techniques. In order to collect data, two compositions from Sammy Nestico which were 88 Basie Street and Wind Machine were selected. The data were analyzed using the records from The Legacy of Sammy Nestico performed by The United States Army Field Band and Basie Cally Sammy performed by The South West Radio Big Band. Both records are under the conducting of Sammy Nestico. After analyzing the two trombone sections in 88 Basie Street records (medium tempo), it was found that the trombone section from The US Army Field Band emphasized the technique of 'note scooping' while the trombone section from The South West Radio Big Band emphasized giving a certain note an accent while ending the note with vibrato. Considering the ‘glissando’ notation that the composer wrote in the music, both trombone sections took their time in sliding each note slowly, adding on a smooth and sweet sense to the music. On the other hand, the Wind Machine with a much faster tempo required performers to perform each note clearer and more concise. The trombone section from The US Army Field performed the piece by emphasizing the beginning of each note while slowly diminished the sound when holding a longer note. The South West Radio Big Band trombone section also emphasized the beginning of each note, giving the listeners a sense of sternness to the piece, while performing a longer note with a more broaden sense to the sound. In conclusion, even Sammy Nestico was the composer and conductor for both works, the musical interpretation and the performing styles from both bands were different. The performance from each band reflected their stylistic identity. This analysis was a small part reflecting the ability of trombone players who could utilize unique techniques to create musical beauty |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ดศ.ม. (ดุริยางคศาสตร)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/652 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Ms-Music-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soraphot Worasaeng.pdf | 5.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.