Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/700
Title: แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อในคดีลักทรัพย์ในเคหสถานกรณีศึกษา หมู่บ้านจัดสรร ในตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Effective prevention on crime victimization against property crime: a case study of houseing estate in Klongsam, Klongluang, Pathumthani Province
Authors: ศุภโชค พ่อค้าไทย
metadata.dc.contributor.advisor: ศศิภัทรา ศิริวาโท
Keywords: ลักทรัพย์ -- ไทย -- ปทุมธานี;การสืบสวนคดีอาญา -- ไทย -- ปทุมธานี;ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ -- ไทย -- ปทุมธานี
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อในคดีลัก ทรัพย์ในเคหสถาน กรณีศึกษา หมู่บ้านจัดสรรในตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุด้านพฤติกรรมของเหยื่อในการตกเป็นเหยื่อใน คดีลักทรัพย์ในเคหสถาน 2) เพื่อศึกษารูปแบบ และวิธีการของหมู่บ้านจัดสรรในการป้ องกันการลัก ทรัพย์ในเคหสถาน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อ ในคดีลักทรัพย์ในเคหสถาน โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็ นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประเภทกรณีศึกษา (Case Study) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) ผู้ที่เคยตก เป็นเหยื่อในคดีลักทรัพย์เคหสถาน ในหมู่บ้านจัดสรร ในตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี ในปี พ.ศ.2560 จำนวน 6 ราย แบ่งเป็นในหมู่บ้านจัดสรรที่มีสถิติคดีลักทรัพย์ใน เคหสถานมากที่สุด 3 ราย ในหมู่บ้านจัดสรรที่มีสถิติคดีลักทรัพย์ในเคหสถานระดับปานกลาง 2 ราย และในหมู่บ้านจัดสรรที่มีสถิติคดีลักทรัพย์ในเคหสถานน้อยที่สุด 1 ราย 2) ผู้แทนนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรร จำนวน 4 ราย แบ่งเป็นในหมู่บ้านจัดสรรที่มีสถิติคดีลักทรัพย์ในเคหสถานมากที่สุด 1 ราย ในหมู่บ้านจัดสรรที่มีสถิติคดีลักทรัพย์ในเคหสถานระดับปานกลาง 1 ราย ในหมู่บ้านจัดสรรที่มี สถิติคดีลักทรัพย์ในเคหสถานน้อยที่สุด 1 ราย และในหมู่บ้านจัดสรรที่ไม่มีคดีลักทรัพย์ใน เคหสถานเกิดขึ้นเลย 1 ราย, 3) พนักงานรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านจัดสรร จำนวน 4 ราย แบ่งเป็นในหมู่บ้านจัดสรรที่มีสถิติคดีลักทรัพย์ในเคหสถานมากที่สุด 1 ราย ในหมู่บ้านจัดสรรที่มี สถิติคดีลักทรัพย์ในเคหสถานระดับปานกลาง 1 ราย ในหมู่บ้านจัดสรรที่มีสถิติคดีลักทรัพย์ใน เคหสถานน้อยที่สุด 1 ราย และในหมู่บ้านจัดสรรที่ไม่มีคดีลักทรัพย์ในเคหสถานเกิดขึ้นเลย 1 ราย โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยที่ทำให้ตกเป็นเหยื่อในคดีลักทรัพย์ใน หมู่บ้านจัดสรร พบว่าไม่ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอาชญากรรม เช่น ไม่ได้ติดตั้งกล้อง วงจรปิดบริเวณทางเข้าบ้าน และไม่มีการติดตั้งระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติในเวลากลางคืน เป็นต้น และยังมีพฤติกรรมที่เป็นปกตินิสัย เช่น การออกจากบ้านและกลับเข้ามาเป็นเวลาที่แน่นอนสามารถ คาดเดาได้ง่าย การเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ตลอดเวลา หรือเปิดหน้าบ้านทิ้งไว้ แม้ว่าเหยื่อจะยังพักผ่อนอยู่ในบ้านก็ตาม ส่วนผลการศึกษารูปแบบและวิธีการในการป้องกันการลักทรัพย์ของหมู่บ้านจัดสรร พบว่าหมู่บ้านจัดสรรทั้งหมดมีรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมที่เหมือนกันคือการจำกัดการเข้า- ออกหมู่บ้านโดยการจัดให้มีทางเข้าออกหมู่บ้านเพียงช่องทางเดียวหรือสองช่องทาง ซึ่งจะมีป้อม ยามอยู่ที่ทางเข้า-ออกหมู่บ้าน และมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณทางเข้า-ออกหมู่บ้าน สำหรับข้อ แตกต่างในหมู่บ้านที่มีคดีลักทรัพย์ในเคหสถานเกิดขึ้นจะไม่มีการแลกบัตรเข้า-ออก สำหรับ บุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อธุระในหมู่บ้าน และเปิดไม้กันไว้ตลอดเวลา ส่วนหมู่บ้านที่ไม่มีคดีลัก ทรัพย์ในเคหสถานเกิดขึ้นจะมีการแลกบัตรประชาชนในการเข้า-ออก สำหรับบุคคลภายนอก และมี การสอบถามบ้านเลขที่ที่จะเข้าไปติดต่อ จากนั้นพนักงานรักษาความปลอดภัยจะจดบันทึก รายละเอียดเกี่ยวกับรถและชื่อผู้มาติดต่อลงในสมุดรายงานเหตุการณ์ หลังจากนั้นพนักงานรักษา ความปลอดภัยจะปั่นรถจักรยานไปที่บ้านที่ถูกกล่าวถึงเพื่อตรวจสอบว่าบุคคลภายนอกได้เข้ามาที่ บ้านหลังนั้นจริงหรือไม่
metadata.dc.description.other-abstract: This empirical research on effective measures to prevent residential burglary victimization in housing estates in Klong Sam district intended to 1) study victims’ behavioral factors in residential burglary cases, 2) study preventive measures put in place by the housing estate juristic persons and 3) propose effective solutions to residential burglary in housing estates. The research was carried out through a qualitative method by studying on case studies. There are 3 types of population involved in this research: 1) 6 victims of residential burglary in housing estates in Klong Sam district during the year 2017, 3 of which are those living housing estates where the numbers of residential burglaries are high, 2 are from housing estates with average numbers of burglaries, and another one from a housing estate with no burglary statistic. 2) 4 juristic persons’ staff each of which is from the estate with the most burglary, average burglary, the least burglary, and no incident, respectively. and 3) 4 security personnel each of which is from the estate with the most burglary, average burglary, the least burglary, and no incident, respectively. Such selection is based primarily on aims of the research. The findings of this research show a common factor of residential burglary in housing estates which is ‘absence of crime prevention through environmental deterrents such as CCTVs and motion detecting lights. Another contributing factor is routinary behavior of residents such as fixed work schedules, the habit of leaving windows and doors open while in the house. The research findings relating to common patterns of preventive measures used by housing juristic persons are limited and controlling access by security guardhouses and CCTVs. It is notable that housing estates with no visitors’ card available are more prone to residential burglary than those with security approaches such as exchanging ID cards for visitors’ tag, entry log recording and door-to-door inspecting by security staffs to see if visitors are expected by houses’ owners.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/700
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CJA-CJA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Police Lieutenant Colonel Supachock Pokathai.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.