Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/740
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอนก เหล่าธรรมทัศน์, สมบูรณ์ สุขสำราญ-
dc.contributor.authorอัครินทร์ อังกูรวงษ์วัฒนา-
dc.date.accessioned2022-03-02T04:58:58Z-
dc.date.available2022-03-02T04:58:58Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/740-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561en_US
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยใช้ศักยภาพของ ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์บริบททางสังคมและวัฒนธรรมล้านนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และศึกษาศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่น ล้านนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ทั้งจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ (Primary and Secondary Sources) จากการสังเกต และจากการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มให้ข้อมูลหลัก (Key-Informants) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านหรือพ่อหลวง ผู้นําชุมชน กลุ่มนักวิชาการ ได้แก่ นักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ กลุ่มภาคประชาสังคมที่สนใจศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง ที่ผู้วิจัยทําการศึกษาและนักพัฒนา ข้าราชการ ผู้ที่ทําการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญาล้านนา ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบททางสังคมและวัฒนธรรมล้านนา ส่งผลต่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทุนทางสังคมหรือทุนภูมิปัญญาที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว ทางประวัติศาสตร์ล้านนา มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมสืบสานเป็นมรดก ทางสังคมและวัฒนธรรมมีความโดดเด่นและทรงคุณค่า สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มาสัมผัสเที่ยวชมวัฒนธรรมล้านนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีจํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่ม มากขึ้น และมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น 2) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมจากระบบเสรีนิยมเป็นระบบเสรีนิยมใหม่ (Liberalism/Neo-Liberalism) ทําให้เกิดความ เป็นพหุสังคมและพหุวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาที่ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและการพัฒนา ผ่านกระบวนการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเพิ่มประสิทธิภาพ และการพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม จะทําให้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนามีศักยภาพอันส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนได้en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย (ภาคเหนือ)en_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่น -- ไทย (ภาคเหนือ)en_US
dc.subjectภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมen_US
dc.titleการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาen_US
dc.title.alternativeSustainable cultural tourism development using Lanna local wisdom potentialen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe purposes of this research are to study and analyze Lanna cultural and social contexts that influence the development of cultural tourism and to study the potential of local wisdom of Lanna that affects the sustainable development of cultural tourism. The research applied both primary and secondary sources, observation, and in-depth Interviews with key informants who were are local scholars and community leaders as well as sociological, anthropological, and historical academics, civil society, and civic servants or government officials interested in research on Lanna wisdom. The results revealed that: 1) Lanna social and cultural context affected the development of cultural tourism and social or capital wisdom in Lanna people's ways of life, including art, culture, and traditions. Natural attractions and Lanna historical and cultural attractions which reflect Lanna identity and embrace local wisdom as a precious cultural and social heritage could attracts Thai and international tourists to appreciate and experience Lanna culture. The number of tourists has been increasing leading to an increase in national income. 2) Economic, social, and cultural contexts have changed from liberalism to neo-liberalism leading to the multicultural society. Lanna local wisdom preserved and developed through the process of cultural tourism management, the enhancement of competitiveness and efficiency, and value added to local wisdom and culture could contribute to the sustainable development of cultural tourismen_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineรัฐประศาสนศาสตร์en_US
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unkharintn Ungkulwongwatana.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.