Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/744
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจระยะที่ 1 ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
Other Titles: Effectiveness of an enhancing self-efficacy in phase I cardiac rehabilitation program on physical fitness among older persons post open heart surgery
Authors: ศุภสวัสดิ์ พิลาภ
metadata.dc.contributor.advisor: วารินทร์ บินโฮเซ็น, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: ผู้สูงอายุ;หัวใจ, ศัลยกรรม;หัวใจ -- ผู้ป่วย -- ศัลยกรรม;หัวใจ -- โรค -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ -- วิจัย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยแบบก่อนการทดลอง กลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (One Group Pre-Post Test Design) นี้เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจระยะที่ 1 โปรแกรมพัฒนาจากแนวคิดการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของ Bandura กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจร่วมกับ การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทรวงอก สถาบันโรคทรวงอก จำนวน 25 คนได้รับโปรแกรมระหว่างอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลา 7 วัน เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและ ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และแบบประเมินสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Wilcoxon Signed Rank Test และ One Sample t- test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนหลังเข้าโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนเข้า โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) สมรรถภาพทางกายที่ประเมินจากการเดินบนพื้นราบ ในเวลา 6 นาที ก่อนจำหน่ายพบว่าไม่แตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน 300 เมตร (p = .129) และหลังจำหน่าย2 สัปดาห์ พบว่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 300 เมตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ระยะที่ 1 หลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายต่อไป
metadata.dc.description.other-abstract: This pre experimental study aimed to inves tigate physical fitness among elderly persons who underwent open heart surgery and received the self - efficacy enhancement program in cardiac rehabilitation phase I. Self- efficacy of Bandura was used as a conceptual framework for development and implement of the program. The purposive sampling of 25 persons underwent CABG and valves repair or replacement at thoracic surgical ward, Central Chest Institute of Thailand were recruited to participate in a program for 7 days after surgery. The instrument for data collection comprised 1) the demographic and health status questionnaire 2) the self-efficacy assessment form and 3) the physical fitness record related to six minute walk test (6MWT). Descriptive statistics, Wilcoxon signed rank test and One sample t- test were used in data analysis. The findings showed that the self-efficacy score was statistically significant higher than that of prior the program (p = .000). Before discharge, the physical fitness related to 6MWT was not different from that of the standard (300 metre) (p = .129) and after two weeks, the physical fitness related to 6MWT had significant higher than that of the standard (300 metre) (p = .000). It is suggested the benefit of this program to enhance self –e fficacy in phase I cardiac rehabilitation resulting in improving the physical fitness among elderly persons after CABG and valves repair or replacement.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/744
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supasawat Pilab.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.