Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/749
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอนก เหล่าธรรมทัศน์, จุมพล หนิมพานิช-
dc.contributor.authorบุญส่ง ชเลธร-
dc.date.accessioned2022-03-02T06:49:21Z-
dc.date.available2022-03-02T06:49:21Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/749-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561en_US
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวถึงสองประเด็น หนึ่ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย สามารถอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เป็นเวลาถึง 8 ปีกับ 5 เดือนในระหว่างปี พ.ศ. 2523-2531 ซึ่งนอกจากจะเป็นเพราะบุคลิกลักษณะและภาวะความเป็นผู้นำที่มีภาพลักษณ์ว่าสัตย์ซื่อ มือสะอาด มีความสามารถในการบริหารประเทศ และสามารถประสานประโยชน์ระหว่างกลุ่มการเมือง เป็นที่ยอมรับของสถาบันทางการเมืองฝ่ายต่าง ๆ แล้ว จุดเด่นที่สำคัญที่สุดคือการมีความเทิดทูนและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นที่ล้นที่พ้น อันเป็นภาพลักษณ์ที่ประจักษ์ต่อประชาชน และด้วยความจงรักภักดีสูงสุดที่มีนี่แหละ พลเอกเปรมจึงได้รับการคุ้มครองและสนับสนุนจากสถาบันพระมหากษัตริย์ จนถือได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรี “ภายใต้พระบารมี”อย่างแท้จริง ดูได้จากกรณี “ข้อมูลใหม่”จากการต่ออายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกออกไปอีกหนึ่งปีในปี พ.ศ. 2523 และกรณีการรัฐประหารที่ล้มเหลวในวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ. 2524 สอง การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยยังทรงมีพระบารมีอย่างเปี่ยมล้นและมีแต่จะทรงอิทธิพลมากขึ้น จนกล่าวได้ว่าสามารถครอบครองหัวใจประชาชนทุกหมู่เหล่าให้ศรัทธาได้อย่างถวายชีวิต ถึงแม้ตัวของสถาบันเองจะเผชิญกับวิกฤติจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งนำโดย “คณะราษฎร” จนประเทศไทยต้องเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตยแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่ภายหลังนำมาซึ่งความขัดแย้งแตกแยก จนเกิด “กบฏบวรเดช” และการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงนั้น ก็มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะล้มเลิกหรือทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด คณะผู้เปลี่ยนแปลงเพียงต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง มีสิทธิในการเลือกสรรรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศด้วยเท่านั้น ซึ่งผลของการปฏิวัติก็เป็นเพียงการกระตุ้นหรือเร่งรัดให้สถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องปรับตัวจากการที่เคยทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองอย่างสมบูรณ์แต่เพียงพระองค์เดียว ไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยเท่านั้น ซึ่งความสามารถในการปรับตัวเช่นนี้กลับเป็นประโยชน์อย่างมหันต์ ทำให้สถาบันสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีและดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าระบอบการปกครองของประเทศจะล้มลุกคลุกคลานขนาดไหน เป็นแบบประชาธิปไตยหรือแบบเผด็จการ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจและพระบารมีเสมอ ทั้งยังสามารถแผ่มาคุ้มครอง และสนับสนุนพลเอกเปรมให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาได้อย่างยาวนานen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectเปรม ติณสูลานนท์, พล.อ., 2463 -- ผลงานen_US
dc.subjectการบริหารราชการแผ่นดินen_US
dc.subjectภาวะผู้นำen_US
dc.titleการบริหารราชการแผ่นดินของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ภายใต้พระบารมี พ.ศ.2523 ถึง 2531en_US
dc.title.alternativeGeneral Prem Tinsulanonda’s administration under royal patronage (1980-1988)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis research emphasizes two aspects as follows: 1. General Prem Tinsulanonda, the 16th Prime Minister of Thailand, remained the Prime Minister for eight years and five months during 1980-1988 owing to his leadership and integrity character, administrative performance as well as his excellence in mutual benefit cooperation among the political network. As a politically acknowledged figure, he is a model of high loyalty to the Thai royal institution. His image is so publicly recognized that he has been protected and supported by the Thai royal institution; consequently, he is considered the Prime Minister under the “Royal Patronage” as noticed from the case of “new information” stating the 1-year extension of his office term as the Royal Thai Army Commander in 1980 and the case of the coup d’état on April 1-3 in 1981. 2. The patronage of the royal institution empowered by the love of Thai subjects remain powerful even though the institution encountered the national revolution from an absolute monarchy to a constitutional monarchy in 1932 escalating into Boworadet rebellion and the dethroning of King Rama VII. In fact, the revolution was not aimed to have the royal institution terminated but have the public take part in the national administration and be eligible for the election of the national government. The effects of the revolution resulted in a tremendous change in the national administrative form to the democratic nation. This change, however, gradually strengthened and stabilized the royal institution though there were times when the royal institution encountered difficulties and crises. Amidst the society of coup d’états or democracy, the royal institution always survived with great contributions of the royal patronage. Consequently, owing to the royal support, General Prem Tinsulanonda held the Prime Minister title for many terms of office.en_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineรัฐประศาสนศาสตร์en_US
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonsong Chaletorn.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.