Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/765
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรรัฏค์ เจริญโชติธรรม-
dc.contributor.authorพัชรจิรา ตัณฑ์ประพันธ์-
dc.date.accessioned2022-03-02T08:09:27Z-
dc.date.available2022-03-02T08:09:27Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/765-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561en_US
dc.description.abstractงานวิจัยในเรื่อง “ความสามารถทางการสื่อสารของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาใน ประเทศไทย” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มุ่งตอบวัตถุประสงค์ 3 ประการได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์ภูมิ หลังของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้ภาษาไทยของ แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาก่อนเข้ามาทำงานในประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาความสามารถ ทางการสื่อสารของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในประเทศไทย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก การสัมภาษณ์แหล่งข้อมูล 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่ทำงานในประเทศไทย จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้ประกอบการ(นายจ้าง) จำนวน 5 คน ที่มีสัญญาว่าจ้างแรงงานต่างด้าวอย่าง ถูกต้องตามกฎหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี และมีฐานะที่ยากจน ซึ่งการตัดสินใจเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้นมีแรงจูงใจมา จากแรงงานที่เคยเข้ามาทำงานมาก่อนและประสบความสำเร็จ และแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่ เคยเข้ามาทำงานในประเทศไทยและได้กลับไปยังประเทศเมียนมาแล้วยังทำหน้าที่เป็น “สื่อบุคคล” ที่ดีและมีความน่าเชื่อถือในการให้คำแนะนำแรงงานรุ่นต่อๆไปในการเดินทางเข้ามาทำงานใน ประเทศไทย ผลการวิจัยยังพบว่า กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมายังคงมีความกังวลและความ กลัวในการสื่อสาร และการปรับตัวทางด้านวัฒนธรรม เนื่องจากไม่มีความรู้ด้านภาษาไทยที่เพียงพอ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า “ทุน” ทางด้านความรู้ของแรงงานต่างด้าวมีความเกี่ยวข้องกับ ความสามารถทางการสื่อสาร 2) วิธีการเรียนรู้ภาษาไทยของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาก่อนเข้ามาทำงานใน ประเทศไทย มี 4 วิธี คือ (1) การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (2) เรียนจากสถาบันสอนภาษา (3) เรียนรู้จากการ ดูละคร และ (4) เรียนรู้จากการฝึกกับแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่เคยทำงานในประเทศไทยมา ก่อน ผลการวิจัยพบว่าวิธีการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดคือ การเรียนจากสถาบันสอนภาษา เพราะมีการแลกเปลี่ยนทางการสื่อสาร มีการพูดคุยโต้ตอบเพื่อทำให้เกิดการสื่อสารอย่างเป็น ธรรมชาติและเกิดความคุ้นเคยในการปรับตัวทางด้านวัฒนธรรม 3) ความสามารถทางการสื่อสารของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่เป็นผู้ให้ ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบ 4 ด้านได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน มีแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมาส่วนน้อยที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว และแรงงานต่าง ด้าวสัญชาติเมียนมาส่วนใหญ่มีความสามารถทางการสื่อสารในระดับปานกลาง และมีแรงงานต่าง ด้าว บางส่วนที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เลยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectแรงงานต่างด้าวชาวพม่า -- การสื่อสารen_US
dc.subjectแรงงานต่างด้าวพม่าen_US
dc.subjectการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม -- วิจัยen_US
dc.titleความสามารถทางการสื่อสารของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeCommunication competency of Myanmar workers in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe study “Communication Competency of Myanmar Workers in Thailand” is employed qualitative research. The purposes of this study are 1) to analyze the Myanmar workers background in Thailand 2) to study how to learn the Thai language of Myanmar workers before coming to work in Thailand and, 3) to study about the communication competence of Myanmar workers in Thailand. This study technique and data was collected by in-depth interview from 20 Myanmar workers who work in Thailand and 5 Employers who have the employment contracts of foreign workers. The results of this study showed that: 1) Almost Myanmar workers in Thailand are between 21 to 30 years old and also poor. The main reason working in Thailand is motivated by their neighborhoods who succeed after working in Thailand and well-known as "Personal Media" they represent to advising next generation workers who want to work in Thailand. The results of this study also show that the Myanmar workers are still concerned to communicat e and cultural adjustment because they are lacked of Thai language skills. In addition, the study found that “Cost of knowledge” of Myanmar workers were associated with communication competence. 2) There are four ways to learn Thai language of Myanmar workers before coming to work in Thailand are: ( 1) Self-learning ( 2) Learning from Language School ( 3) Learning from the drama and, (4) Learning with Myanmar workers who have worked in Thailand before. The results showed that the best way to learn Thai language is Language School because of communication exchange, have interactive talk to create a natural communication and the familiarity in cultural adjustment 3) Communication competency of Myanmar workers in Thailand come in four main sections: listening, speaking, reading and writing. There are a few Myanmar workers who can listen, speak, read and write Thai language fluently and most of Myanmar workers with moderate level of communication skills and there are some Myanmar workers who have unskill that cannot communicate in Thai language.en_US
dc.description.degree-nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineนิเทศศาสตร์en_US
Appears in Collections:CA-CA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patchrchira Tanpraphan.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.