Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/789
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพินดา เลิศฤทธิ์-
dc.contributor.authorภพธร วิเชียรกร-
dc.date.accessioned2022-03-03T02:45:10Z-
dc.date.available2022-03-03T02:45:10Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/789-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษาระบบสองภาษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการแข่งขัน (Team Game Tournament Technique: TGT) ต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ 3 และเพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการแข่งขันต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ประชากรคือนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 3 ของโรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก จำนวน 18 ห้องเรียน จำนวนทั้งหมด 606 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง โดยเลือกนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 3 ห้องที่มีการคละกันของระดับคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุด จำนวน 1 ห้องเรียน ได้จำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในในงานวิจัยนี้ มี 3 ชนิด คือ 1) แบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่องค่าสูงสุดสัมบูรณ์ การอินทิเกรตและพื้นที่ใต้โค้ง 2) แผนการสอนและแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษท้ายชั่วโมงเรียนที่มีการแข่งขัน TGT และ 3) แบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการใช้เครื่องมือและวิธีการในการวิจัยด้วยการเปรียบเทียบผลสอบก่อนการทดลองกับผลสอบหลังการทดลอง มีระยะดำเนินการวิจัย 6 สัปดาห์ และเก็บรวบรวมข้อมูลคะแนนการสอบก่อนเรียน คะแนนสอบหลังเรียน ผลสารวจความคิดเห็นของนักเรียน จากนั้นนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ t-score ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการแข่งขัน ผ่านการใช้แบบทดสอบที่เป็นภาษาอังกฤษ หลังเรียน (5.45) สูงกว่าก่อนเรียน (4.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้กิจกรรมกลุ่ม TGT ผ่านการใช้แบบทดสอบที่เป็นภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (x̅ = 4.17, S.D. = 0.81)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectการเรียนรู้ -- กิจกรรมการเรียนการสอนen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การอ่าน -- การประเมินen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การอ่าน -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.titleผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการแข่งขันต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ 3en_US
dc.title.alternativeThe effects on cooperative learning and team game tournament technique on English reading of the third year cadetsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe experimental research aimed to explore the effects of cooperative learning and team game tournament technique (TGT) for English reading activity of third year cadets in Armed Forces Academies Preparatory School, Nakhon Nayok and study satisfaction of third year cadets with the technique used in the classroom activity. The populations were 606 third year class third year cadets (18 classes). The subjects of this study, obtained by purposive sampling technique, were 33 cadets of one class), the largest mixed English ability class enrolled in Mathematics course, second semester of the 2015 academic year. The experiment lasted for six weeks. The instruments used in this study were 1) lesson plans on teaching Mathematics on absolute value, integration and normal distribution curve written in English; 2) the pret and post proficiency tests; and 3) a set of questionnaire for investigating the third year cadets’ opinions toward the activity developed in this study. A paired-sample t-test was used to investigate the differences between the mean scores resulted from the pre and post proficiency tests. The qualitative data were analyzed by using descriptive statistics and shown in mean (𝐱̅), standard deviation (S.D.), and percentage. The findings of the study revealed that there was a significant difference in students’ mean scores on English ability after the students’ participation in the cooperative game activity (𝐱̅ = 5.45) higher than before the activity (𝐱̅ = 4.33) at the significant level of 0.05; and the cadets’ opinions toward the TGT activity for the content, time and appropriateness of the teaching were positive (𝐱̅ = 4.17, S.D. = 0.81).en_US
dc.description.degree-nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการศึกษาระบบสองภาษาen_US
Appears in Collections:EDU-Bil-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Group Captain Pobtorn Wichiankorn.pdf6.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.