Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/804
Title: การส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์โดยวิธีการสอน แบบกรณีศึกษาร่วมกับ การใช้แผนผังแนวความคิดรูปตัววี เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Enchancing scientific explanation ability by a case study method and vee diagram on the digestive system unit of Mattayomsuksa 4 students
Authors: กิตติวัฒน์ ดิษฐประเสริฐ
metadata.dc.contributor.advisor: ทัศนีย์ ปัญจานนท์
Keywords: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- กิจกรรมการเรียนการสอน;การสอน -- การวางแผน;การย่อยอาหาร -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียน โดยวิธีการสอนแบบกรณีศึกษาร่วมกับการใช้แผนผังแนวความคิดรูปตัววี เรื่อง ระบบย่อยอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหารจำนวน 4 แผน รวม 9 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยา 3) อนุทินสะท้อนความคิดของนักเรียน และ 4) แบบบันทึกภาคสนามของครู ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ทักษะการสอนของครู 2) ความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียน 3) วิธีการวัดผล และ 4) สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนวัดผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นจริงสูงขึ้น มีจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ในระดับสูงเพิ่มขึ้น จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ในระดับต่ำลดลง เมื่อเสร็จสิ้นแผนจัดการเรียนรู้ที่ 1 – 4 ตามลำดับ และ 2) เจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยาอยู่ในระดับ “สูงมาก” (ค่าเฉลี่ย = 4.26) ผลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์สูงขึ้นและมีเจตคติที่ดีต่อวิธีการสอนแบบกรณีศึกษาร่วมกับการใช้แผนผังแนวความคิดรูปตัววี เรื่อง ระบบการย่อยอาหาร
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this classroom action research were to evaluate the scientific explanation ability and attitude towards biology of students by using a case study method and Vee diagram on the digestive system unit. The subjects were chosen by purposive sampling method, which was 40 students in Mattayomsuksa 4 from a school of Secondary Educational Service Area Office 4, Pathumthani province, during the first semester in the academic year 2018. The research instruments were the four lesson plans on the topic of the digestive system covered 9 periods. The data collection instruments included 1) pretest and posttest science learning achievement test 2) test of attitude toward biology subject learning 3) student journal writing, and 4) teacher reflective journal. Results by content analysis of qualitative data indicated that the 4 major factors affecting learning outcome included 1) Teacher skills 2) Learning ability of students 3) Evaluation methods, and 4) Learning environment. The quantitative data analysis showed that 1) The average of actual gin was gradually increased and the number of students in the "high gain" level was gradually increased while as the number of students in the "low gain" level was gradually decreased, during the first to the last of lesson plans implementation. 2) Attitude towards biology of the student was in the "very high" level with average score at 4.26. Results from this study indicated that scientific explanation ability and attitude towards biology of students were improved by using a case study method and Vee diagram on the digestive system unit.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/804
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittiwat Ditprasert.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.