Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/817
Title: | การศึกษาประสบการณ์การทำผิดวินัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | A study of the experiences of junior high school students with discipline problems at a Pathum Thani school |
Authors: | ชายแดน เดชาฤทธิ์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | อัญชลี ชยานุวัชร |
Keywords: | วินัยของนักเรียน -- วิจัย -- ปทุมธานี;วินัยในโรงเรียน -- ปทุมธานี -- วิจัย;นักเรียน -- พฤติกรรม -- วิจัย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “การศึกษาประสบการณ์การทำผิดวินัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดปทุมธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาเหตุ ของการทำผิดวินัยของนักเรียนที่ทำผิดบ่อยเพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ลดน้อยลงและช่วยเหลือนักเรียนประเภทนี้ให้หันมาใส่ใจการเรียน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการนักเรียนที่มีความประพฤติทางด้านการทำผิดวินัยบ่อยที่สุดจากเกณฑ์การคัดเลือก 2 เกณฑ์ คือ คัดเลือกจากคนที่ทำผิดวินัยของโรงเรียนสูงสุดและเป็นผู้ที่ผู้ปกครองต้องมาทำทัณฑ์บนกับโรงเรียน จานวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้มี 3 ชุดคือ 1) การสัมภาษณ์เดี่ยวผู้ให้ข้อมูลหลัก ใช้เวลาสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างคนละ 30 นาที บทสัมภาษณ์ได้นำมาถอดเทปทุกตัวอักษรและนำมาวิเคราะห์ โดยการใช้ Grounded Theory และ Constant Comparative Approach 2) การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน 1 ภาคเรียนการศึกษาเพราะผู้วิจัยมีโอกาสได้พบเห็นนักเรียนเหล่านี้ภายในโรงเรียนอย่างใกล้ชิดและใช้วิธีบันทึกข้อมูลของแต่ละกรณีศึกษาอย่างย่อๆ และวิเคราะห์เนื้อหาโดยจัดกลุ่มความคิดที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน 3) การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับผู้ปกครองของผู้ให้ข้อมูล บันทึกข้อมูลของแต่ละกรณีศึกษาอย่างย่อๆ และวิเคราะห์วิเคราะห์เนื้อหาโดยจัดกลุ่มความคิดที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันเช่นเดียวกับข้อมูลชุดที่สอง การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้การสัมภาษณ์พบว่า ปัจจัยครอบครัวและเพื่อนเป็นประเด็นที่สำคัญที่อยู่เบื้องหลังการทำผิดวินัยของนักเรียน การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน 1 ภาคเรียนการศึกษา พบว่านักเรียนมีปัญหาทางด้านอารมณ์ ติดเพื่อนและไม่สนใจเรียน การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับผู้ปกครองของเด็กพบว่าบทบาทของปู่ย่าตายายที่ตามใจหลานอย่างไม่มีเหตุผล ทำให้หลานสร้างสมนิสัยที่เอาแต่ใจตัวเอง และมีบ่อยครั้งที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ การที่ไม่มีผู้ปกครองคอยดูแลอย่างใกล้ชิด นักเรียนจึงหันไปหาเพื่อนและยอมทำทุกอย่างเพื่อให้เพื่อนรักและรับเป็นพวก เมื่อนำผลที่ได้จากข้อมูลทั้ง 3 ชุด มาเปรียบเทียบกันพบว่า ปัจจัยหลักของการทำผิดวินัยของนักเรียนคือ ครอบครัว เพื่อน และจิตใจของนักเรียนที่ทำความผิด แนวทางแก้ไขปัญหาการขาดวินัยของนักเรียน ควรทำเป็นหลายรูปแบบและจัดให้มีขึ้นพร้อมๆ กันเพื่อแก้ปัญหาการขาดวินัยของนักเรียนดังนี้ รูปแบบที่ 1 คือ การป้องกัน ชุมชนต้องร่วมมือกันสอดส่องดูแลให้นักเรียนอยู่ในสายตา หากปล่อยให้แต่ละครอบครัวดูแลบุตรหลานของตนแบบตัวใครตัวมันจะไม่ประสบ ความสำเร็จ ภาพนี้จะเป็นภาพใหญ่ของการช่วยให้นักเรียนได้รับความอบอุ่นจากคนในชุมชนที่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะให้คำแนะนา อบรมบ่มนิสัยนักเรียนให้มีวินัยในตนเอง รูปแบบที่ 2 คือ การใช้ชีวิตที่โรงเรียนของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด จากครู ให้เขารู้สึกว่าตนเองไม่ได้ถูกทอดทิ้งไม่มีใครสนใจ อาจจะช่วยให้นักเรียนรักที่จะอยู่ที่โรงเรียน รักการที่จะเข้าเรียนหนังสือในห้องเรียน ลดการอยากที่จะทำตัวให้โดดเด่นในอีกด้านหนึ่งเพื่อเรียกร้องความสนใจ โรงเรียนต้องเป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ รูปแบบที่ 3 คือ การอบรมบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างจริงจังให้เข้าใจบทบาทของตน เช่น พ่อแม่ที่แยกทางกัน พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ปู่ย่าตายาย ครู ว่าควรช่วยเหลือนักเรียนอย่างไร และเพื่อให้การสร้างเสริมวินัยมีประสิทธิภาพ ควรร่วมมือกันในการดูแลนักเรียนเพื่อไม่ให้เกิดการตามใจนักเรียนแบบไม่ถูกทาง ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยในอนาคตมีดังนี้ 1) ควรทำงานวิจัยเช่นนี้เพิ่มขึ้นในบริบทใกล้เคียง เช่น ในโรงเรียนอื่นๆ ที่มีนักเรียนทำผิดวินัยจานวนมาก เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันว่าการขาดวินัยของนักเรียนเกิดจากปัญหาเหล่านี้ 2) นำผลจากงานวิจัยมาจัดทำเป็นแบบจำลองเพื่อไปทางานวิจัยเชิงทดลองเป็นการต่อยอด |
metadata.dc.description.other-abstract: | This qualitative study is entitled “A Study of the Experiences of Junior High School Students with Descriptive Problems at a Pathum Thani School” It is aimed at identifying the factors that lead to indiscipline students who often break the school regulations to find out how such problems can be reduced and students who are at risk can be better taken care of so that they can concentrate on their studies. The data were collected from 7 students who topped the school list of wrong doing and their parents were invited to sign agreements with the school. There were 3 sets of instruments: 1) 30-minute individual semi-structured interviewing. The interviewed data were transcribed and analyzed with Grounded Theory and Constant Comparative Approach 2) Student Behaviour Observations for one semester because the researcher had the opportunity to closely observe them. Records of brief description were kept 3) Informal small talks with parents of the key informants were recorded. The contents of both 2 and 3 were content analyzed into categories for r=emerging patterns. The findings were ‘family’ and ‘friend’ were significant factors behind indiscipline committed by students. Observations of student behaviour revealed that students had problems with their temperament, unreasonably attracted to friends and inattention to study. The informal talks with parents indicated that grandparents unreasonably pampered their grandchildren resulting in the “Me-first” attitude and disobedience. Having no close supervision from parents, students turned to their friends and would do everything to win their hearts for their love and acceptance. When the results from 3 sets of data were compared for similarities and differences, it was found that major factors for students’ indisciplinary behaviour were ‘family’, ‘friend’ and ‘temperament’. Ways to solve this problem can take many forms that take place simultaneously are as follows: Way 1: Prevention by the community, who will cooperate with one another to take care of their children so that they will get the love and warmth they expect from those in the same community who are able to give advice and discipline students. Way 2: At school, students need to be given full attention so they won’t feel neglected. This will help students to love studying or show-off to seek attention. The school must be a safe pace for students, both mentally and physically. Way 3: All stakeholders should be intensively trained to understand their roles.. For example, divorced parents, step-mothers/steps-fathers, grandparents and teachers should collaborate to find out ways to help support students and promote positive discipline. In this way, students won’t be unreasonably pampered. Recommendations for future research are 1) More research should be done in similar contexts such as in schools where there are lots of discipline problems to confirm that the factors found in this study are major causes of indiscipline 2) Use the findings of this study to design a model for an experimental research. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การศึกษา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/817 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-ES-D-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaidan Decharit.pdf | 3.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.