Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/819
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์-
dc.contributor.authorดวงพร สำราญรมณ์-
dc.date.accessioned2022-03-03T05:33:34Z-
dc.date.available2022-03-03T05:33:34Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/819-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้โรคอ้วนและพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โรคอ้วนกับพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน 3) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศและอายุ มีอิทธิพลต่อการรับรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน และ 4) จัดทาและศึกษาผลการใช้คู่มือสุขภาพป้องกันโรคอ้วนฉบับนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 400 คน จากมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) คู่มือสุขภาพ 3) แบบประเมินคุณภาพคู่มือ และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมในการนำคู่มือไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนเชิงพหุแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของการรับรู้โรคอ้วนของนักศึกษาในระดับมาก โดยมีพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วนในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในระดับสูง 2) การรับรู้โรคอ้วนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยด้านเพศมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรคอ้วน พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และ พฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน ปัจจัยด้านอายุมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความรุนแรงของโรคอ้วน พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และ พฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน และ 4) ได้นำผลของการวิจัยพัฒนาเป็นคู่มือสุขภาพป้องกันโรคอ้วนฉบับนักศึกษา โดยผลการประเมินการนำคู่มือไปทดลองใช้โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ทั้งนี้สามารถนำคู่มือนี้ไปใช้ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันโรคอ้วนให้กับนักศึกษาได้en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectโรคอ้วน -- การป้องกันและควบคุมen_US
dc.subjectโรคอ้วน -- ในวัยรุ่นen_US
dc.subjectโรคอ้วนในวัยรุ่นen_US
dc.titleการรับรู้ต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยเอกชนen_US
dc.title.alternativePerception on prevention of obesity of undergraduate students in private universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe objective of this research was to explore: 1) perception of obesity and obesity prevention behaviors; 2) the relationships between perception of obesity and obesity prevention behavior; 3) personal factors include gender and age influence perception and obesity prevention behavior; and 4) preparation and assessment on the effect of Health Guide for students to prevent obesity. Samples of this study was carried out on 400 bachelor degree students from private universities in Bangkok and Metropolitan area. Tools of the study comprises of 1) questionnaire, 2) health guide, 3) health guide quality assessment form, and 4) appropriateness assessment form in health guide implementation. Data analysis was the use of statistical frequency, percentage, mean score, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient statistic and Two–ways MANOVA statistical analysis. Research result found that 1) an overall perception of obesity in students were at high level with the obesity prevention behaviors at a moderate level and the behaviors that risk to become obesity at a high level, 2) the perception of obesity has a positive relationship with the obesity prevention behavior significantly at .01 level, 3) gender factors has an influence on the perception on self-ability in obesity prevention, risk behavior on obesity, and obesity prevention behavior while age factor has an influence on the perception of the seriousness of obesity, risk behavior on obesity and obesity prevention behavior; and 4) result of this study has been used for the preparation of health guide for students to prevent obesity which the assessment of the overall result for pilot implementation was appropriated at a highest level. This guide, therefore can be used to create the perception on prevention of obesity in students.en_US
dc.description.degree-nameศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineการศึกษาen_US
Appears in Collections:EDU-ES-D-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangporn Samranrom.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.