Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/824
Title: การสะท้อนปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นผ่านสื่อประกวดของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Other Titles: The reflection of corruption problems through contest media of office of the National Anti-Corruption Commission
Authors: ณัฐพงศ์ พิมพ์จันทร์
metadata.dc.contributor.advisor: กฤษณ์ ทองเลิศ
Keywords: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ -- วิจัย;ภาพยนตร์สั้น -- การประกวด -- ไทย;การทุจริตและประพฤติมิชอบ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง การสะท้อนปัญหาทุจริตคอรัปชั่นผ่านสื่อประกวดของสำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงสัญลักษณ์ การสะท้อนปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นผ่านสื่อประกวดของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามทุจริตแห่งชาติ และองค์ประกอบทางการสร้างสรรค์ที่ดี ที่มีต่อสื่อประกวดภาพยนตร์สั้น ทั้ง 7 เรื่อง โดยมีแนวคิดและทฤษฎีการทุจริตคอรัปชั่น แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยา และแนว การวิเคราะห์ภาษาภาพเชิงเทคนิค เป็นแนวทางในการเข้าสู่ปัญหานำวิจัยประกอบกับการสัมภาษณ์ กลุ่ม นักศึกษาทางด้านภาพยนตร์ โดยผลการวิจัยพบว่า สัญลักษณ์เพื่อการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต คอรัปชั่นทางผลงาน ชนะเลิศการประกวดประเภทภาพยนตร์สั้น สามารถจำแนกได้ 3 ประเภทคือ 1) สัญลักษณ์ภาพ ซึ่ง ประกอบด้วย ก) สัญลักษณ์ภาพการแสดงออกด้านสีหน้าและอารมณ์ ได้แก่ ภาพการแสดงสีหน้าตื่น ตระหนก เมื่อมีผู้พบว่าตนเองกระทำการทุจริต การแสดงสีหน้าคัดค้านไม่ยินยอมเมื่อเห็นการทุจริต ข) สัญลักษณ์ภาพที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการทุจริตคอรัปชั่น ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ เกี่ยวกับ พฤติกรรมการโกง ได้แก่ ภาพส่วนแบ่งทางธุรกิจที่มีประโยชน์อย่างมิชอบ ภาพโครงการที่มีสัมพันธ บทกับการโกงและการทุจริตคอรัปชั่นในเชิงนโยบาย ภาพการประพฤติมิชอบของข้าราชการ และ ภาพการเป็นใจรับผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้กระทำผิด 2) สัญลักษณ์ผ่านบทสนทนา ที่สะท้อน ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ได้แก่บทสนทนา “จ่ายให้ท่าน ให้ฉันเท่าไหร่ เงินส่วนแบ่ง แบ่งเปอร์เซ็นต์ให้ ฮั้ว ใคร ๆ ก็ทำกัน ฉ้อฉล ประชานิยม” และ เขียนตัวเลขเพิ่มจากของเดิมลงไป และ 3) สัญลักษณ์ ภาพเชิงเทคนิค ด้วยการสื่อความหมายแฝงของภาษาภาพเกี่ยวกับการทุจริต ได้แก่ การใช้ภาพโครง ทึบ, การใช้ภาพเงาสะท้อน มิติแสงในเชิงสัญลักษณ์ การตัดต่อและการลำดับภาพ ระดับมุมกล้อง และ แสงแบบ Low key
metadata.dc.description.other-abstract: The main purpose of the Reflection in Corruption Problems through Contest Media of Office of the National Anti- Corruption Commission research on The Reflection of corruption Problems through Contest Media of Office Research is to build a better understanding in the symbols reflected in corruption problem through Contest Media as well as great creative elements over seven short films. Besides, anti-corruption concepts and various theories were utilized as a model including Semiotics Approach, Technical Visual Language Analysis, and Group Interview in Film and Digital Media Students. As a result, it was found out that the symbols for anti-corruption campaign through short film contest could be divided into three categories. The first category was Visual Symbols consisting of facial and emotional expression, a panic or an objection during investigation. Corruption Behavior, comprising of symbols and corruption behaviors, was also considered as a Visual Symbols such as photos regarding corruption in business allocation or a project, political corruption, and illegitimate private. The second category was Symbols through Conversation. There were bribery, collusion, embezzlement, and allocation. Finally, the third one was Technical Visual Symbols with disguisable image about corruption such as Silhouette, Reflection, Symbolic Dimensional Lighting, a sequence of shot and Parallel Cutting, Camera Angles as well as Low Key Lighting
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิเทศศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/824
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-CA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttapong Phimjan.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.