Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/826
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัญชลี ชยานุวัชร | - |
dc.contributor.author | ธันยาภัทร์ สร้อยสุวรรณ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-03T06:02:33Z | - |
dc.date.available | 2022-03-03T06:02:33Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/826 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้ช่วยครู 2) ศึกษาคุณลักษณะของผู้ช่วย ครู 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในเชิงวิชาชีพของผู้ช่วยครูในโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกัน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และ 4) ศึกษาแนวทางและเสนอกรอบในการพัฒนาผู้ช่วยครูในการ สนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียนโรงเรียนนานาชาติได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยชิ้นนี้เป็น งานวิจัยเชิงผสมผสาน จากโรงเรียน A ในจังหวัดนนทบุรี เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณได้จากแบบสอบถามที่แจกให้ผู้ช่วยครู 69 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากแบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างผู้บริหารจำนวน 2 คน ครูผู้สอนหลัก 4 คน และผู้ช่วยครูจำนวน 13 คน สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามคือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Coefficient Alpha) ได้ค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟ่ าของครอนบาค (Cronbach’s Coefficient Alpha) 0.834 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ช่วยครูจำนวน 13 คน วิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบ Grounded Theory และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร 2 คน และครูหลัก 4 คนใช้ วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้ 1) ผู้ช่วยครู มี 3 บทบาทหลัก คือ 1.1) บทบาทในการสนับสนุน ผู้เรียน พบว่า ต้องปฏิบัติต่อนักเรียนด้วยความใส่ใจมากที่สุด รองลงมาคือ ให้การช่วยเหลือนักเรียน ทุกคน และสร้างแรงจูงใจที่ดีต่อการเรียนให้กับนักเรียน 1.2) บทบาทในการสนับสนุนครูหลักพบว่า การจัดระเบียบอุปกรณ์การเรียนการสอนให้อยู่เป็นหมวดหมู่และใช้งานได้มากที่สุด รองลงมาคือ จัดเตรียมอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนให้พร้อมก่อนครูหลักสอน และเก็บอุปกรณ์สื่อการเรียนการ สอนให้เรียบร้อยหลังจากที่ครูหลักสอนเสร็จ และ 1.3) บทบาทในการสนับสนุนองค์กรที่ผู้ช่วยครู ส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญ คือ การรักษาข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ ดูแลและรักษาสิ่งของที่เป็นทรัพย์สินของโรงเรียน และรักษาภาพพจน์และชื่อเสียงให้กับโรงเรียน 2) คุณลักษณะของผู้ช่วยครู แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 2.1) ด้านอุปนิสัยพบว่า มีความกระตือรือร้นใน การทำงานมากที่สุด รองลงมาคือ ชอบทำงานร่วมกับเด็ก และปรับตัวง่ายและเร็วต่อเพื่อนร่วมงาน และองค์กร 2.2) ด้านทักษะในการทำงานพบว่า ทำงานเป็นทีมได้ดีมากที่สุด รองลงมาคือ ทำงาน เดี่ยวได้ดี ใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีทั้ง 4 ทักษะ และมีทักษะในการใช้ ICT ในระดับดี และ 2.3) ด้านความรู้พบว่า มีเทคนิคในการสอนเพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายมากที่สุด รองลงมาคือ พัฒนาตัวเองให้ ก้าวทันยุคสมัย และแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนร่วมงาน 3) ความต้องการจำเป็นในเชิงวิชาชีพของ ผู้ช่วยครู พบว่า ผู้ช่วยครูต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองมากที่สุด คือ ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง ICT ให้ ทันสมัยตลอดเวลา รองลงมาคือ เทคนิคการสอนเด็ก และความรู้เพิ่มเติมตามรายวิชาหลักที่ต้องช่วย เด็ก 4) แนวทางในการพัฒนาผู้ช่วยครู ผู้ช่วยครูควรได้รับการพัฒนา ดังนี้ 4.1) ทักษะเชิงความรู้ที่ ต้องมี คือ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ การถ่ายรูป การผลิตสื่อ การสอนศิลปะ และเลข 4.2) ทักษะ ด้านความเป็นครู คือ เทคนิคการสอนการอ่าน วิธีการสอนเด็ก (พิเศษ) หลักสูตรใหม่ๆ วิธีการสอน แบบใหม่ๆ การจัดสภาพแวดล้อม การศึกษาพิเศษ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4.3) ทักษะการ จัดการกับปัญหาเชิงพฤติกรรมของเด็ก คือ การทำงานเป็นทีม วิธีการโค้ช วิธีการดูแลเด็กหลายๆ แบบ การจัดการกับปัญหาพฤติกรรม วิธีสังเกตพฤติกรรม และการสังเกตพฤติกรรมในสถานการณ์ จริง | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ครู -- บทบาทและหน้าที่ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | บุคลากรทางการศึกษา -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ครู -- ความรับผิดชอบในการทำงาน | en_US |
dc.title | บทบาทคุณลักษณะและความต้องการจำเป็นในเชิงวิชาชีพของผู้ช่วยครูในโรงเรียนนานาชาติ | en_US |
dc.title.alternative | Roles, characteristics and professional needs of instructional assistants in an international school | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This study aimed to study the 1) roles 2) characteristics 3) professional needs of teacher assistants in an American international school in Bangkok and its suburban areas, and 4) to propose guidelines for a framework of professional development for teacher assistants in supporting classroom teaching and learning as best as they could. This study employed a mixedmethods approach at School A in Nonthaburi because both quantitative data and qualitative data were collected. Quantitative data were collected from 69 questionnaires sent to teacher assistants. Qualitative data were collected by semi-structured interviews of two administrators, four teachers and 13 teacher assistants. Statistics used in analyzing the questionnaires were basic statistics consisting of percentage, frequencies, mean and standard deviation. The reliability score of 0.834 of the questionnaires was obtained by using Cronbach’s Coefficient Alpha. The interviewed data from 13 teacher assistants were analyzed with the Grounded Theory, while the interviews of two administrators and four teachers were done by content analysis technique. The findings of the study revealed the following: 1) Teacher assistants have three major roles: 1.1) the roles of supporting the learners, that is, they should take very good care of the students as well as help and motivate all students in their learning, 1.2) the roles of supporting the class teachers are firstly putting all teaching materials in order for easy use and teacher assistants must neatly prepare and put back teaching materials before and after class, and 1.3) the roles of supporting the organization that all teaching assistants must be aware of is to keep all student personal particulars confidential to be followed by taking good care of and maintaining all the school properties as well as keeping a good image and reputation of the school. 2) Characteristics of teacher assistants are found to be in three areas: 2.1) for general characteristics, working enthusiasm to be followed by enjoying working with children and quickly adapting oneself to colleagues and the organization, 2.2) For the necessary skills at work, teamworking skill is found to be the most important, followed by effectively carrying out individual assignments, good English skills and good ICT skills, and 2.3) for the knowledge aspect, showing the skill in teaching for highest level of understanding among students followed by improving oneself by catching up with the latest bodies of knowledge and exchanging knowledge with colleagues. 3) As for the professional needs of teacher assistants; it is clear that the teacher assistants in the study would like to develop themselves most, that is, in additional ICT knowledge to be followed by techniques in teaching children and additional knowledge of the students’ core subjects. 4) Guidelines for Professional Development of Teaching Assistants. 4.1) The skill in teaching subjects such as English, Computer, Photography, material production, art and mathematics. 4.2) Skills of being the teacher which include techniques in teaching reading, teaching methodology for special learners, new ways of curriculum development, environment management, inclusive education and teaching and learning management. 4.3) Skills in the management of children’s behavioral problems, that is, teamworking skill, coaching, supervising different groups of students, behavior management and observations as well as observations of children’s behavior in real situations. | en_US |
dc.description.degree-name | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การศึกษา | en_US |
Appears in Collections: | EDU-ES-D-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanyapatra Soisuwan.pdf | 8.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.