Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/830
Title: | ภาวะหลังสมัยใหม่ของภาพโฆษณาอาดิดาสในบริบทของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก |
Other Titles: | Postmodernity of Adidas advertisement image in the context of the Olympic games |
Authors: | พีระ ศรีประพันธ์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | กฤษณ์ ทองเลิศ |
Keywords: | โฆษณา -- ชื่อตราผลิตภัณฑ์;กีฬาโอลิมปิก;กีฬา -- การโฆษณา -- วิจัย;กีฬา -- ตราผลิตภัณฑ์ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “ภาวะหลังสมัยใหม่ของภาพโฆษณาอาดิดาสในบริบทของการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก” เป็นการศึกษาการประกอบสร้างความหมายผ่านภาพในงานโฆษณาของตราสินค้า อาดิดาส เพื่อให้เข้าใจถึงการจัดระบบไวยากรณ์ของภาพ (Visual Syntax) ความสัมพันธ์ของภาพกับ ความห มาย (Sign Relationship) และแน วคิดห ลังส มัยให ม่ที่ป รากฏ ใน ภ าพ โฆ ษ ณ า (Postmodernism) จำนวน 5 ชุด รวมทั้งสิ้น 31 ภาพ ผลการวิจัยพบว่า การจัดระบบไวยากรณ์ภาพจะ ประกอบด้วยรหัสซึ่งเป็นสัญญะย่อยๆ ในการสื่อความหมายสองลักษณะคือ รหัสของเทคนิคการ นำเสนอ เป็นการใช้การจัดองค์ประกอบภาพ ในการกำหนดจุดดึงดูดสายตาของผู้ชมไปยังสิ่งที่ ต้องการสื่อความหมาย และรหัสของเนื้อหา เป็นการใช้สี สีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย ฯลฯ ในการ กำหนดทิศทางการตีความหมายภาพของผู้ชม ขณะที่ความสัมพันธ์ของภาพกับความหมายที่ปรากฏ ในภาพส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สัญลักษณ์ (Symbol) เพื่อเชื่อมโยงความหมายระหว่างตัวแบบหลัก และตราสินค้าโดยอาศัยผลงานที่ประสบความสำเร็จที่ผ่านมาของตัวแบบ ส่วนภาวะหลังสมัยใหม่ที่ ปรากฏในภาพโฆษณา พบว่า (1) มีการใช้สัมพันธบท (Intertextuality) ในการเชื่อมโยง ถ่ายโอน ความหมายในลักษณะต่างๆ ประกอบด้วยการทิ้งร่องรอย (Trace Back) การพาดพิงโดยอ้อม (Allusion) การมีความหมายที่หลากหลาย (Polysemy) และการแกว่งตัวของความหมาย (Heteroglossia) อีกทั้งยังพบ (2) การยุบรวมความหมาย (Implosion of Meaning) อันได้แก่ การยุบ ความหมายระหว่างความเป็นนักกีฬาและความเป็นวีรบุรุษ และการยุบรวมความหมายระหว่างโลก ความจริงและจินตนาการ (3) การใช้ความเกินจริง (Hyperreal) ในการทำให้ความหมายเชิงนามธรรม ปรากฏในเชิงรูปธรรมชัดเจนขึ้น (เช่น การสนับสนุนจากประชาชน) (4) การปะติด (Collage) เป็น การจับคู่สถานการณ์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกกับแนวคิดของตราสินค้าอาดิดาสที่ต้องการนำเสนอ ตามสโลแกนที่ว่า “ไม่มีอะไรที่เป็ นไปไม่ได้” และ (5) การรื้อสร้างความหมาย (Deconstruction) เป็นการหาความหมายอื่นๆ ที่ถูกกดทับอยู่ในตัวแบบหลักของภาพโฆษณาให้เห็นถึงเบื้องหลังของ ความสำเร็จว่าจะต้องผ่านความล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน |
metadata.dc.description.other-abstract: | The research on “Postmodernity of Adidas A dvertisement Image in the Context of the Olympic Games” is a study of the construct of meaning in Adidas print advertisements. This research aims to understand ways of communication including visual syntax, sign relationship and postmodernism in five sets of advertising images ; thirty-one pictures in total. The results of research show that the visual syntax in Adidas print advertisement consists of two different signs. They are code of technical representation a nd code of content. The code of technical representation help to determine visual appeal point of the audience. The code of content help to determine the direction of interpretation. While most of sign relationship appeared in advertisement are the use of symbols to connect between successful performance of main models and brand communications. The postmodernism appears in Adidas advertisement images. include (1) Intertextuality: the interconnection between texts, contains four concepts are Trace Back, Allusion, Polysemy and Heteroglossia. (2) Implosion of meaning which are the implosion between athlete and hero, and the implosion between reality and imagination. (3) Hyperreal: the use of computer graphic to make abstract meaning more concrete and obvious ly presented (for example, citizen support in Olympic). (4) Collage which are situation matching between sport competitions and Adidas’s brand concept. “Impossible is Nothing”. (5) Deconstruction: the finding other meaning in advertisement image that are overridden and show the background of main model that successful athletes have failed before. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/830 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CA-CA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Peera Sripraphan.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.