Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/88
Title: การสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูโรงเรียนโสตศึกษา ในภาคกลาง
Other Titles: Classroom motivation in the deaf schools for Central Region
Authors: เอกพจน์ ราษฎร์เจริญดี
metadata.dc.contributor.advisor: กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์
Keywords: แรงจูงใจในการศึกษา -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี;โรงเรียนโสตศึกษา -- (ไทย) ภาคกลาง;การจูงใจในการศึกษา;ครู -- กิจกรรมการเรียนการสอน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัย เรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการ สร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูผู้สอนภาษาไทย 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติการสร้างแรงจูงใจในชั้น เรียนของครูผู้สอนภาษาไทย และ 3) เปรียบเทียบการสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูผู้สอน ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้น ประถมศึกษา 23 คน และครูผู้สอนมัธยมศึกษา 4 คน รวม 27 คน จากโรงเรียนโสตศึกษา ในภาคกลาง 4 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตรวจสอบความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าครรชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติ Mann-Whitney test ใน การเปรียบเทียบการสร้างแรงจูงใจของครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการสร้างแรงจูงใจชั้นในเรียน มี 6 ด้าน คือ (1) การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน (2) การสร้างความสนใจ (3) การสร้างความมั่นใจ (4) การสร้าง ความพึงพอใจ (5) การสร้างเสริมให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมาย และ (6) การปฏิบัติงาน สําหรับ สถานภาพ ของกลุ่มตัวอย่างผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาโรงเรียนโสตศึกษา จํานวน 27 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 76.67 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 55.56 ที่เหลือจบ การศึกษาปริญญาโท ครูส่วนมากมีประสบการณ์ในการสอนที่โรงเรียนโสตศึกษา 16-20 ปีและ ส่วนมากไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินและสามารถใช้ภาษามือได้เกือบทุกคนร้อยละ 95.65 2) ครูผู้สอนภาษาไทย สร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนทั้ง 6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยที่ครู ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาปฏิบัติมากที่สุดสอดคล้องกัน คือ การสร้างความมั่นใจและการ สร้างบรรยากาศในชั้นเรียน และ 3) ผลการเปรียบเทียบการสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูผู้สอน ภาษาไทย ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พบว่าการสร้างแรงจูงใจทั้ง 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
metadata.dc.description.other-abstract: This survey research aimed to study 1) the elements of motivation for Thai language teachers, 2) motivation development levels of Thai language teachers, and 3) compare motivation development of Thai language teachers teaching in primary levels and secondary levels. The sample group consisted of 27 Thai language teachers; 23 of them teaching in primary levels and the other 4 teaching in secondary level at four audiovisual schools in the Central region. The research instruments included survey questionnaire and structured interview that were validated (ICO = 0.67-1.00). The analysis was done by using frequency, percentage, mean and standard deviation as well as Mann-Whitney Test for a comparison. The results revealed that 1) there were six elements of motivation for Thai language teachers when the teachers were able to create: (1) classroom atmosphere, (2) interest (3) confidence, (4) satisfaction, (5) learning goals, (6) working systems; the status of Thai language teachers in the study showed that most of them were female (76.67%); had Bachelor Degree (55.56%) and Master Degree (44.44%) with 16-20 teaching experience in the schools. They had no hearing disability but were able to use sign language (95.65%); 2) the levels of six motivation elements were all very good especially in creating confidence and classroom atmosphere; and 3) there was no statistically significant difference in the six elements of motivation development between the teachers in primary levels and the ones in secondary levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/88
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-CI-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekapod Ratjaroendee.pdf37.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.