Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/923
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิภา กิมสูงเนิน, รัชนี นามจันทรา-
dc.contributor.authorวรรณภา ศรีหาบรรดิษฐ์-
dc.date.accessioned2022-03-24T05:42:05Z-
dc.date.available2022-03-24T05:42:05Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/923-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Correlational Descriptive Research เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สัมพันธภาพในครอบครัว ความรู้และทักษะในการดูแลของผู้ดูแลกับความต้องการของผู้ดูแล และปัจจัยทำนายความต้องการของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 90 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบประเมินความรู้และทักษะในการดูแลของผู้ดูแล และแบบสอบถามความต้องการของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Correlation Coefficient) และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าผู้ดูแลมีความต้องการด้านความรู้และทักษะในการดูแล และด้านจิตใจและอารมณ์มากที่สุด ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความต้องการของผู้ดูแล ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และสัมพันธภาพในครอบครัว ส่วนปัจจัยที่มีอำนาจทำนายความต้องการของผู้ดูแล คือ สัมพันธภาพในครอบครัว สามารถทำนายความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 3.27 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะการวิจัยควรมีการศึกษาความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในแต่ละระยะ ตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน ระยะ 6 เดือน และ 1 ปี เพื่อการจัดบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง -- การดูแลen_US
dc.subjectสมองเสื่อม -- ผู้ป่วย -- การดูแลen_US
dc.titleความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและปัจจัย ทำนายความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeNeeds of the caregivers of patients with cerebrovascular disease and the predicting factors of their needsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis correlational descriptive research is aimed at studying the needs of the caregivers who care for patients with cerebrovascular disease. In addition, this research examines the significance of selected factors that jointly predict the need of the caregivers. The sample 90 cases of caregivers of patient with cerebrovascular disease were purposively selected. Data collection was done using personal factors, the activities of daily living (Barthel ADL Index ), family relationships, knowledge and skill of care and the need of caregivers. These data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression. The results of this research indicate that the leading needs of the caregiver fall, at a highest level, within the knowledge and skill of care and emotional and psychological domain. The activities of daily living and family relationships negatively correlated with the needs of caregivers. Family relationships significantly predicted the need of caregivers at 3.27 percent with statically level of 0.05. This study suggests a review of the needs of the caregivers in each of the following stages: 1) before discharge, 2) 6 months, and 3) 1 year after discharge to ensure that nursing service conforms to the need of the caregiveren_US
dc.description.degree-nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่en_US
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannapa Srihabandith.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.