Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/92
Title: การศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี
Other Titles: The study of process in English for communication learning management of good practice schools
Authors: นราวุฒิ วิวิธธนากร
metadata.dc.contributor.advisor: ศรีสมร พุ่มสะอาด
Keywords: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);การจัดการเรียนรู้;ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร -- การศึกษาและการสอน -- วิจัย;แนวปฏิบัติที่ดี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของโรงเรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ ดี 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติของครูภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง และ 3) ศึกษาแนวทางการยกระดับการจัดการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 30 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 160 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามสําหรับครู นักเรียน และแบบสัมภาษณ์สําหรับผู้บริหารและครู รวบรวมข้อมูล ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ F – TEST และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD และ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ โรงเรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี จากการปฏิบัติของครู ในภาพรวมทุกขั้นตอนการปฏิบัติอยู่ระดับ มาก และนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติของครูในขนาดใหญ่ พิเศษ ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01, และ 3) แนวทางการยกระดับการจัดการเรียนรู้คือ (1) ครูควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนจัดการเรียนรู้ (2) ครูควรใช้กิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ เทคนิคการสอนใหม่ๆ ที่หลากหลายและทันสมัย สื่อและ นวัตกรรมที่น่าสนใจ (3) ครูควรใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายให้เหมาะสมกับผู้เรียนที่ มีความสามารถแตกต่างกัน (4) โรงเรียนควรมีนโยบายเน้นการส่งเสริมคุณภาพด้านภาษาอังกฤษ และทําหลักสูตรเพิ่มเติม อาจมาจากต่างประเทศหรือโรงเรียนที่มีคุณภาพสูงๆ
metadata.dc.description.other-abstract: This survey research, collecting both quantitative and qualitative data, aimed to 1) study of the learning management of English for communication of schools considered to demonstrate good practice; 2) compare practices among English language teachers teaching Mattayomsuksa 3 (grade 9) students in three school categories by size: extra-large, large, and medium; and 3) propose guidelines for upgrading the learning management of English for communication of schools demonstrating good practice. The samples were 30 English language teachers teaching Mathayomsuksa 3 students and 160 Mathayomsuksa 3 students. The research tools included a questionnaire for teachers, a questionnaire for students and interview forms for administrators and teachers. Data were analyzed using frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. Difference testing was conducted by using f-test and paired difference was tested by using LSD. The research also applied content analysis. The results of the research showed that all processes of the learning management of English for communication were at a high level, students’ opinions were high. The result of the comparative study revealed that teachers’ practices among three school categories were different with a statistically significant level of .01. To upgrade the learning management of English for communication, teachers were recommended to get themselves prepared for learning management, use interesting activities, and apply a variety of modern teaching techniques and interesting media and innovations together with a variety of assessment tools suitable for learners with different abilities. Finally, schools were recommended to implement a policy to improve the quality of English language instruction and follow the practice of foreign schools or high quality schools for English language curriculum improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/92
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-CI-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narawut Wiwittanakorn.pdf46.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.