Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/955
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวศิณ ชูประยูร-
dc.contributor.authorนัทปภา หันนะเว-
dc.date.accessioned2022-03-30T05:59:33Z-
dc.date.available2022-03-30T05:59:33Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/955-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ – (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) – มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของ 1) คุณลักษณะของงานและคุณลักษณะของระบบสารสนเทศต่อความเหมาะสมของระบบสารสนเทศกับงานปัจจุบันของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 2) ความเหมาะสมของระบบสารสนเทศกับงานต่อผลกระทบในการปฏิบัติงาน 3) ความเหมาะสมของระบบสารสนเทศกับงานต่อการใช้ประโยชน์ จากระบบสารสนเทศ 4) การใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศต่อผลกระทบในการปฏิบัติงาน และ 5) พัฒนาแนวทางในการใช้ระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยใช้ตัวแบบ TTF เป็นกรอบความคิดในการวิจัยกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้คือบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สายสนับสนุน จำนวน 132 คน และ สายวิชาการ จำนวน 167 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีความน่าจะเป็น สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณลักษณะของงานและคุณลักษณะของระบบสารสนเทศมีอิทธิพลต่อความเหมาะสมของระบบสารสนเทศกับงานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมติฐาน ยังชี้ให้เห็นว่าความเหมาะสมของระบบสารสนเทศกับงานมีอิทธิพลต่อการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศ และ ผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ส่วนการใช้ประโยชน์จากการใช้ระบบสารสนเทศไม่มีอิทธิพลใด ๆต่อผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน จากการทดสอบสมมติฐานทำให้ได้ตัวแบบความเหมาะสมของระบบสารสนเทศกับงาน จำนวนรวมทั้งสิ้น 253 ตัวแบบ ผลการวิจัยนำไปสู่การตีความตัวแบบเพื่อกำหนดแนวทางในการใช้ระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อาทิ 1) การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อตรวจสอบปริมาณงานของบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อลดผลกระทบด้านข้อมูลต่อการปฏิบัติงาน 2) การกำหนดนโนบายเกี่ยวกับการปรับข้อมูลทุกสัปดาห์ 3) กำหนดนโยบายการปรับปรุงข้อมูลระบบสารสนเทศประจำเดือน กำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของสายสนับสนุนและสายวิชาการ และกำหนดตัวดัชนีชีวัดของการใช้งานระบบสารสนเทศ ฯลฯen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ -- ระบบสารสนเทศen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศ -- การจัดการ -- วิจัยen_US
dc.subjectข้อมูล -- การจัดการen_US
dc.subjectการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ -- วิจัยen_US
dc.titleการศึกษาเชิงประจักษ์ความเหมาะสมของระบบสารสนเทศกับการปฏิบัติงานตามบริบทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยใช้ตัวแบบ Task-technology fit modelen_US
dc.title.alternativeAn empirical study of information systems based on Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi contexts using task-technology fit modelen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis thesis aimed to study influence of 1) task characteristics and information system characteristics to current task-information system fit of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi; 2) the task-information system fit to performance impacts; 3) the task-information system fit to the information system utilization; 4) the information system utilization to performance impacts; and 5) generate approaches on how to use the information systems appropriating with current tasks of the university. The task-technology fit model was applied to develop the research framework. 132 supporting officers and 167 academic officers were selected as research samples. Questionnaires were used to gather empirical data from the samples with probability random sampling. Multinomial Logistic Regression was applied to test hypotheses. The test found that task and information system characteristics influenced task-information system fit at the statistical significance level .05. In addition, the hypothesis test pointed out that task-information system fit influenced the system utilization and performance impacts. In terms of the system utilization, the test resulted that the utilization had no influence to the performance impacts. The hypothesis test generated 253 models of task-information system fit. The research findings led to interpret the models in order to define approaches on how to use information systems appropriated with the tasks in the university contexts. Some approaches were 1) establishing a unit responsible for monitoring workload for supporting officers in order to reduce the data impact to their works; 2) defining policies on weekly data updating; 3) defining policies on monthly information system updating, authorizing data access right, and indexing indicators of information systems, etc.en_US
dc.description.degree-nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศen_US
Appears in Collections:ICT-ITM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natpapha Hunnaway.pdf6.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.