Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/962
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัลญา หลีแจ้, นันทพงศ์ ขำทอง-
dc.contributor.authorมัชฌิมาภรณ์ ศักดิ์แพทย์-
dc.date.accessioned2022-03-30T07:06:29Z-
dc.date.available2022-03-30T07:06:29Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/962-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ -- (วท.ม. (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560en_US
dc.description.abstractเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis เป็นแบคทีเรียประจำถิ่นบนผิวหนังและเยื่อเมือกของมนุษย์ โดยเชื้อมีการสร้างไบโอฟิล์ม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของสิว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเห็ดเรืองแสงที่สกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ต่อการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อ S. epidermidis จากผลการทดลองพบว่าน้ำหนักของสารสกัดน้ำเลี้ยงเชื้อและเส้นใยเห็ดเรืองแสงที่สกัดด้วย Dichloromethane มีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 233.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 903.7 มิลลิกรัม ตามลำดับ จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียพบว่าสารสกัดจากน้ำเลี้ยงเชื้อที่สกัดด้วยDichloromethane มีฤทธ์ิในการยับยั้งเชื้อ S. epidermidis ATCC 12228 และ S. epidermidis ATCC 35984 โ ด ย มีค่า Minimum Inhibitory Concentration (MIC)/Minimum Bactericidal Concentration(MBC) เท่ากับ 2/2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากการทดสอบ Time-kill Assay พบว่าสารสกัดดังกล่าวที่ความเข้มข้น 4MIC (8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) มีฤทธ์ิในการฆ่าเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984 ได้ที่เวลา 2 ชั่วโมงจากนั้นคัดเลือกเชื้อสายพันธุ์ที่สร้างไบโอฟิ ล์ม พบว่าเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984เป็นสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการสร้างไบโอฟิ ล์มมากที่สุด ดังนั้นจึงเลือกสายพันธุ์นี้เพื่อไปทดสอบฤทธ์ิของสารสกัดจากเห็ดเรืองแสงต่อการยับยั้งการสร้างและการทำลายไบโอฟิ ล์ม โดยใช้สารสกัดน้ำเลี้ยงเชื้อเห็ดเรืองแสงที่สกัดด้วย Dichloromethane ความเข้มข้น 1/2MIC, 1/4MIC,1/8MIC และ 1/16MIC ผลการทดลองพบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการสร้างไบโอฟิ ล์มเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารสกัด โดยมีค่าเท่ากับ 29.79, 23.88, 20.83 และ 16.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่สารสกัดดังกล่าวไม่มีฤทธ์ิในการทำลายไบโอฟิ ล์ม และการศึกษาลักษณะไบโอฟิ ล์มภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (SEM) พบว่าสารสกัดความเข้มข้น 1/2MIC มีฤทธ์ิในการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์ม แต่ไม่มีฤทธิ์ในการทำลายไบโอฟิล์มนอกจากนี้พบว่าสารสกัดน้ำเลี้ยงเชื้อเห็ดเรืองแสงที่สกัดด้วย Dichloromethane ความเข้มข้น 1/2MIC และ 1/4MIC มีฤทธ์ิในการยับยั้งการสร้างเอนไซม์ Lipase ของเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984 เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงการสร้างเอนไซม์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารสกัด โดยมีค่าเท่ากับ 22.22 และ 9.26 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดเห็ดเรือง แสงในการยับยั้งการสร้างเอนไซม์ Protease ของเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984 พบว่าเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984 ไม่สร้างเอนไซม์ Proteaseจากการทดลองสรุปได้ว่าสารสกัดเห็ดน้ำเลี้ยงเชื้อเห็ดเรืองแสงที่สกัดด้วย Dichloromethaneเป็นสารสกัดที่มีปริมาณมากที่สุด ซึ่งสารสกัดดังกล่าวมีฤทธ์ิต้านแบคทีเรีย และมีฤทธ์ิในการยับยั้งการสร้างแต่ไม่มีฤทธ์ิในการทำลายไบโอฟิล์มของเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984 นอกจากนี้สารสกัดดังกล่าวยังมีฤทธ์ิในการยับยั้งการสร้างเอนไซม์ Lipase ของเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984 อีกด้วยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectเห็ด -- การใช้รักษาen_US
dc.subjectเห็ดเรืองแสง -- วิจัยen_US
dc.subjectเชื้อแบคทีเรียen_US
dc.titleฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย staphylococcus epidermidis ของสารสกัดจากเห็ดเรืองแสง (neonothopanus nambi)en_US
dc.title.alternativeAntibacterial activities of luminescent mushroom (neonothopanus nambi) extracts against staphylococcus epidermidisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractStaphylococcus epidermidis is the normal microbiota on skin and mucous membranes of human. S. epidermidis can form biofilms which is one of the causes of acne. The objective of this study was to study antibacterial activity of luminescent mushroom extracted by organic solvents on the inhibition of S. epidermidis biofilm formation. The dichloromethane extracts from the cuture filtrate and mycelia gave the highest yields which were 233.0 mg/l and 903.7 mg, respectively. The result showed that the culture filtrate extracted with dichloromethane possessed antibacterial activity against S. epidermidis ATCC 12228 and S. epidermidis ATCC 35984 with MIC/MBC values as 2/2 μg/ml. From time-kill assay, the dichloromethane extract with a concentration of 4MIC (8 μg/ml) showed bactericidal property against S. epidermidis ATCC 35984 at 2 hours. From the detection of biofilm-forming strains of S. epidermidis, it was found that the strain S. epidermidis ATCC 35984 was capable of forming biofilm. Thus, the strain was chosen for further study on the inhibition and destruction of biofilm formation of the dichloromethane extract against S. epidermidis ATCC 35984. The extracts were tested against S. epidermidis ATCC 35984 at the concentrations of 1/2MIC, 1/4MIC, 1/8MIC and 1/16MIC. The result displayed that the percentage of inhibition increased with increasing extract concentration; the percentages of inhibition were 29.79, 23.88, 20.83 and 16.40, respectively. However, the extracts did not showed the destruction of biofilm. Under SEM microscope, the culture filtrate dichloromethane extract with the concentration of 1/2MIC was capable of inhibit the biofilm formation but did not kill mature biofilmen_US
dc.description.degree-nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการแพทย์แผนตะวันออกen_US
Appears in Collections:Ort-OM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Matchimaporn Sakdipaet.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.