Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/981
Title: | วาทกรรมการใช้ประโยชน์ในที่ดินระหว่างรัฐกับประชาชน กรณีศึกษา : อุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน |
Other Titles: | Discourse of land utilization among state and citizen a case study of Thaplan National Park Thailand headquaters and Kaengkrachan National Park |
Authors: | สุรศักดิ์ จำรัสการ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ฉัตรวรัญช์ องคสิงห, ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ |
Keywords: | อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน;อุทยานแห่งชาติทับลาน;ที่ดิน -- การใช้ประโยชน์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเกิดขึ้นของภาคปฏิบัติการวาทกรรมจากการใช้ ประโยชน์บนที่ดินในอุทยานแห่งชาติทับลานและแก่งกระจาน 2) ศึกษาภาคปฏิบัติการของการจัดการ ที่ดินทับซ้อนระหว่างรัฐกับประชาชน 3) ศึกษากระบวนการเบียดขับ กีดกันให้ประชาชนกลายเป็นอื่น โดยงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การค้นคว้าจากเอกสารและการ สังเกตแบบมีส่วนร่วมของผู้วิจัยมีผู้ให้ข้อมูล แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องมาทำการศึกษา ซึ่งประเทศไทยตั้งแต่เริ่มมีการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ปี พ.ศ.2504 ทำให้การใช้ประโยชน์ในที่ดินมีความ หลากหลายมากขึ้นกล่าวคือ เมื่อรัฐมีนโยบายในการจำแนกที่ดินว่าที่ดินใดเป็นที่ดินอุทยานที่รัฐสงวน ไว้ที่เป็นสาธารณะ และที่ดินใดเป็นที่ดินที่ประชาชนสามารถครอบครองได้ และจะต้องไม่อยู่ในเขตที่ รัฐประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ อีกทั้งการที่ประเทศไทยมีนโยบายในการเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นทุนหรือ การเป็นสถานที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว พื้นที่อุตสาหกรรม และการยึดครองเพื่อการลงทุนใน สินทรัพย์การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์วาทกรรม(DISCOURSE ANALYSIS)ของมิเชล ฟูโกต์ ทฤษฎี พื้นที่สาธารณะ(PUBLIC SPHERE)ของฮาเบอร์มาส ตามสำนักคิดหลังโครงสร้างนิยม(POST STRUCTURALISM) โดยใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเพื่อนำ ข้อมูลจากพื้นที่วิจัยมาศึกษาถึงภาคปฏิบัติการจากวาทกรรมกระแสหลักคือพระราชบัญญัติอุทยาน แห่งชาติ ปี พ.ศ.2504การเกิดวาทกรรมรอง ภาคปฏิบัติการของการจัดการพื้นที่ทับซ้อนและ กระบวนการในการเบียดขับประชาชนในพื้นที่วิจัย ผลการวิจัยพบว่า เมื่อรัฐเข้ามามีบทบาทกับการจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยอาศัยอำนาจรัฐตามวาทกรรมกระแสหลักใช้กฎหมายเดียวกันบังคับประชาชนให้ปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่สามารถโต้แย้งต่อรัฐได้แนวทางดังกล่าวส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานและแก่งกระจานมีการเบียดขับให้ประชาชนต้องสยบยอม ยัดเยียดความเป็นอื่นให้กับประชาชนจากกฎหมายปัจจุบันที่ล้าหลัง จำเป็นจะต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีบริบทที่แตกต่างกันไปสามารถนำเสนอปัญหา แนวคิดที่ผ่านการถกแถลงจนได้รับการยอมรับของคนในชุมชน มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์ในที่ดินระหว่างรัฐกับประชาชน โดยให้รัฐมีกติการ่วมกันในการจัดการปัญหาโดยปราศจากการบังคับใช้อำนาจรัฐในการคุกคาม ขู่เข็ญ มาเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้ชุมชนเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง อย่างมีส่วนร่วมทำให้ได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ลดความขัดแย้งระหว่างรัฐและคนในพื้นที่ นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายที่ทันต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงต่อไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purposes of this study were: 1) Study on the occurrence of practical discourse on land use in ThapLan and KaengKrachan National Park.2) Study of the operation on land management conflict between state and people.3) Study on the process of obstruction, alienation and exclusion peoplein these two National Park in-depth interview from 3 groups such as tourist, non-government local service provider and officers. Since, Thailand National Park Act, B.E. 2504, and its make more variety of land uses. That is, the State has a policy of land cover classification to be the land at the state reserve for public, land owned by the people but it must not in the National Park. Including the policy of Capital Asset Change, not only land subdivision for tourism and industry, but occupation of land for investment in assets also. This study uses Discourse Analysis of Paul-Michel Foucault, Public Sphere of JurgenHabermasand the principle thinking of Post Structuralism. By using case of landin ThaplanNational park and KaengKrachan Nation Park,Thailand,to study the primary operation discourse by the main of Thailand National Park Act, B.E. 2504. The secondary operation discourse of land management on overlapping territorial claims area and processing misappropriates people authority in the place of research. The results, whenever state comes into play with land use management. By virtue of the state of the mainstream discourse by the samelaw enforce public without against to the state. By this way, it has been affected to people in the area of ThaplanNational park and KaengKrachan Nation Park, Thailand, beat them off to surrenderand force people to be others.The National Park Act is unfashionable law. People in the area have different contexts, so they needs participate and discuss to solve problem land usewithin their communityuntil acquired the solution. Then propose those solutionsto the state to achieve common solution in land use between state and public. Meanwhile the state needs a common pact in dealing with the problem without the right, the power to threaten the public.Using community participate in solving problemsby themself that will be making direct to the point. Also, reduce the conflict between the state and the people in the area. This will lead to the improvement of the law to catch up with changing context. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้ทำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/981 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surasak Chumraskarn.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.