Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุลีรัตน์ เจริญพร, ฉัตรวรัญช์ องคสิงห-
dc.contributor.authorภาคิน ชาญฐิติพงษ์-
dc.date.accessioned2022-04-07T08:12:58Z-
dc.date.available2022-04-07T08:12:58Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/982-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560en_US
dc.description.abstractการศึกษา “เรื่องเล่าบาร์โฮสท์ : ปรากฏการณ์เพศวิถีของสังคมไทย” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิทยาแบบการศึกษาเรื่องเล่า (Narratives Approach) วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ1) เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงวัฒนธรรมการบริโภคในวิถีชีวิตของบาร์โฮสท์ 2) เพื่อศึกษาการต่อสู้ต่อรองของความเป็นหญิงความเป็นชาย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเพศวิถีและบาร์โฮสท์ในสังคมไทย คำถามการวิจัย คือ ความเป็นหญิงความเป็นชายในวิถีของบาร์โฮสท์มีความสัมพันธ์กับเพศวิถีและสตรีนิยมอย่างไร การศึกษาแบบเรื่องเล่านี้เป็นวิธีการศึกษาที่อยู่ภายใต้กระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคม (Social Constructivism) เพราะการให้ความหมาย หรือมิติความหมายของประสบการณ์ทางเพศจำเป็นต้องมาจากมุมมองของเจ้าของปัญหาหรือผู้มีประสบการณ์ตรง ปัจจุบันเพศวิถีถูกแฝงรหัสทางสังคม (Social Codes) เอาไว้หลายอย่าง ทั้งประเด็นเชิงบรรทัดฐานทางสังคม ความเชื่อ และศีลธรรม ทำให้คนที่ออกนอกลู่นอกทางจากชนิดแห่งความปกติของเพศวิถีกระแสหลักทั้งในมิติพฤติกรรมทางเพศ (Sexual Practice) ความพึงพอใจทางเพศ(Sexual Pleasure) หรือแรงปรารถนาทางเพศ (Sexual Desire) ต้องตกเป็นจำเลยของสังคม ผู้วิจัยได้ขอให้ผู้มีประสบการณ์ตรงกับบาร์โฮสท์ทั้ง 9 คนได้เล่าเรื่อง โดยผู้วิจัยและผู้เล่าเรื่องได้สร้างความหมายของปรากฏการณ์บาร์โฮสท์ไปด้วยกัน เรื่องเล่าของขิม, ซันนี่, คม, เอม, จูน, แพร, เจลและนวลน้อย เป็นภาพสะท้อนของการต่อสู้ ต่อรองและสวมรับกับบรรทัดฐานแห่งเพศวิถี(Sexuality) ผลการวิจัย พบว่า 1) การเป็นบาร์โฮสท์และการดำรงวิถีชีวิตของบาร์โฮสท์เป็นการต่อรองกับวัฒนธรรมการบริโภค (Consumer Culture) ซึ่งมีบทบาทในการสร้างอัตลักษณ์ของบาร์โฮสท์เชิงอัตตบุคคลขึ้นโดยเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ทางสังคม 2) การต่อสู้ ต่อรองกับความเป็นหญิงความเป็นชายขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานในสังคมได้กำหนดชุดของจริยธรรม ผ่านการตีความและการให้ความหมายที่แตกต่างกันและ 3) ชุดความคิดของสตรีนิยมมีอิทธิพลต่อในบทบาทของบาร์โฮสท์ แม้ผู้หญิงจะถูกกฎเกณฑ์และการตีตราของมาตรฐานชุดความรู้เรื่องเพศทำให้ผู้หญิงขาดอำนาจต่อรอง แต่บาร์โฮสท์เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างพลังต่อรองให้กับการถูกครอบงำทางเพศที่ให้อำนาจในทางเพศกับผู้ชายมากกว่า ผู้เล่าเรื่องได้นำเสนอการต่อสู้ ต่อรองกับอำนาจนี้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectเพศวิถีen_US
dc.subjectพฤติกรรมทางเพศ -- การสำรวจทัศนคติ -- วิจัยen_US
dc.subjectสถานบริการทางเพศen_US
dc.titleเรื่องเล่าบาร์โฮสท์ : ปรากฎการณ์เพศวิถีของสังคมไทยen_US
dc.title.alternativeBarhosts napratives sexuality phenomenon in the Thai societyen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThe study of "Barhosts' Narratives : Sexuality Phenomenon in the Thai Society" was qualitative research that used Narratives approach which was study method under social constructivism because defining or shade of meaning of sexual experience needed to come from the viewpoint of the problem owner or people with direct experience. Nowadays, sexuality is explained on binary opposition which was considered normal sexual relationship which was the "knowledge" on sexuality between men and women to specify the framework and maintained the mainstream ideology because sexuality was underlined with many social codes. Even the social norm and ethics, these made people who were not conformed with the norm or the mainstream way in Sexual Practice and Sexual Pleasure or Sexual Desire would become social victims. The research requested the 9 people to tell their story from their own narratives. The researcher and the storyteller created the meaning of barhost phenomenon. The story of Khum, Sonny, Khom and Man who worked in barhost business by negotiating with consumer culture and created the identity of barhost on personal identity by connecting to social identity and the narratives of Am, June, Pra, Jel and Nual. This would reflect the fight, negotiation and to go together with the norm of sexuality which includes gender lifestyle that were created from the social value, standard and thinking system. The operating method relating to the desire and sexual expression in this process. Barhost was a phenomenon that happened in the myth of sexuality in Thai society that reflected paternalism or men being important. This concept was still strong that drove the sexual desire of women to be quiet or hard to hear just like the sound of barhost.en_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakin Chanthitipong.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.