Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1006
Title: | คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี |
Other Titles: | Quality of care management in persons with sepsis syndrome at Emergency Department in Singburi Hospital |
Authors: | ภาพิมล โกมล |
metadata.dc.contributor.advisor: | รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น |
Keywords: | เลือดติดเชื้อ -- วิจัย;เลือดติดเชื้อ -- การรักษา -- วิจัย;การติดเชื้อ -- วิจัย;การพยาบาลฉุกเฉิน -- วิจัย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติด เชื้อในกระแสเลือดด้านโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ ที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดย ใช้โมเดลการประเมินคุณภาพทางการพยาบาลของ Irvine ct al. เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่ม ตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หน่วยงานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน จํานวนทั้งหมด 14 คน และเวชระเบียนของผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่เข้ามารับ การรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2558 จํานวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพได้แก่ แบบวัดความรู้ในการดูแลผู้มีกลุ่มอาการ ติดเชื้อในกระแสเลือดและ แบบสอบถามการปฏิบัติการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีกลุ่ม อาการติดเชื้อในกระแสเลือด และบันทึกกระบวนการดูแลและผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงบรรยาย ลัยรังสิต 2009 ผลการวิจัย คุณภาพการจัดการดูแลด้านโครงสร้างพบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีความรู้ในการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดในระดับ ปานกลางถึงระดับดี คุณภาพการจัดการด้านกระบวนการพบว่า พยาบาลมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ บางประการ ไม่ค่อยสม่ําเสมอโดยเฉพาะการประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อใน กระแสเลือด การค้นพบภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลมีระยะเวลาเฉลี่ย 17.3 นาที ระยะเวลาที่ผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้อเฉลี่ย 14.1 นาที โดย ร้อยละ 92.2ได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้อในระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที ระยะเวลาการได้รับยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 29.6 นาที โดยร้อยละ 96.7 ได้รับยาปฏิชีวนะในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที คุณภาพการ จัดการดูแลด้านผลลัพธ์พบว่า หลังการให้การดูแลผู้มีภาวะ Sepsis Severe Sepsis และ Septic Shock มี ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย 65 mmlig ร้อยละ 70.8, 14.3 และ 0ตามลําดับ และปริมาณค่าความอิ่มตัว ของออกซิเจนส่วนปลาย 92% ร้อยละ 86.1, 0 และ 18.2 ตามลําดับ และไม่พบผู้มีการติดเชื้อใน กระแสเลือดมีภาวะแทรกซ้อนน้ําเกินจากการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดําการเกิดภาวะ Shock ของผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ในระยะ Scpsis และ Severe Sepsis พบร้อยละ 8.3 และ71.4 ตามลําดับ ผลการศึกษาแสดงถึงความจําเป็นในการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม อาการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะความรู้และการปฏิบัติการดูแลของพยาบาลใน การประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย และควรมีการวิจัยติดตามคุณภาพการดูแลเมื่อส่งต่อผู้ป่วย ไปหอผู้ป่วย |
metadata.dc.description.other-abstract: | This descriptive research was aimed to studying the quality of care management for patient with sepsis, structure, process and outcome at emergency departments in Singburi Hospital. Research framework was the Nursing Quality Assessment Model of Irvine et al. The samples were include 14 of emergency register nurses and 90 medical records of persons with sepsis whose admitted to the emergency department during July - October 2015. The instrument used for collected data from Register nurses werc 2 part : A knowledge-based A knowledge-based measurement for the care of patients with septicemia . A questionnaire for care of patients with septicemia. The instrument used for collected data from medical record were Personal information record of patients with septicemia, A recording form of carc processes and carc outcomes. Data were analyzed using the statistical package program to determine frequency, percentage, mean and standard deviation. The research results were: 1) Quality of care management on structural aspect evealed that care knowledge of emergency register nurses was moderate to good levels. 2) Quality of carc management on process aspect were found that the emergency register nurses Irregularly care ,no consistency, especially in assessing the change. Duration of found of infection in the bloodstream has an average 17.3 minutes. The duration of blood culture was 14.1 minutes, 92.2% Blood culture was conducted within a period of less than 30 minutes and duration Shock in sepsis and severe sepsis occurred in 8.3% and 71.4%, respectively. The results indicate the need for research to improve the quality of care for patients with sepsis of antibiotic treatment averaged 29.6 minutes was 96.7% Quality of care management on outcome aspect found that After treatment with sepsis severe sepsis and septic shock , mean blood pressure 65 mmHg was 70.8%, 14.3% and 0%, respectively. The oxygen saturation content> 92% was 86.1% 0% and 18.2 % respectively. There was no cases of excess water loss from intravenous transfusion. especially the knowledge and practice of nursing care in evaluating patient changes. The quality of care should be monitored when referring patients to the ward |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2559 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1006 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Papimol Komol.pdf | 13.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.