Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1007
Title: | ประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัด |
Other Titles: | Symptom experiences and quality of life of patients with advanced cancer receiving chemotherapy |
Authors: | พรพิมล เลิศพานิช |
metadata.dc.contributor.advisor: | อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ |
Keywords: | ผู้ป่วยมะเร็ง -- การพยาบาล;มะเร็ง -- การรักษาด้วยเคมี -- วิจัย;มะเร็ง -- เคมีบำบัด |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสบการณ์อาการ ซึ่งรวมถึงการรับรู้ อาการ ความถี่ ความรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัด 2) ระดับคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัด และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์อาการกับ คุณภาพชีวิตผู้ป่วยของมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 83 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 ถึง เดือนธันวาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประสบการณ์อาการ MSAS และ 3) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต FACT-G เก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนรับเคมีบำบัด ระหว่างรับเคมีบำบัด และเมื่อสิ้นสุดการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลประสบการณ์อาการ และคุณภาพชีวิต โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์ของความถี่อาการ ความรุนแรงอาการ และ คุณภาพชีวิตในแต่ละช่วงเวลา ด้วยสถิติ Friedman test และหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ อาการ และคุณภาพชีวิต โดยใช้สถิติ Spearman ranks correlation ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้อาการที่พบมากที่สุด 5 อับดับแรก คือ อาการอ่อนเพลีย/เปลี้ย/ ไม่มีแรง กังวล/กลุ้มใจ นอนไม่หลับ/นอนหลับยาก ไม่อยากอาหาร/เบื่ออาหาร และปากแห้ง ตามลำดับ อาการไม่อยากอาหาร/เบื่ออาหารเป็นอาการที่มีความถี่ และความรุนแรงมากที่สุด นอกจากนี้พบว่า ความถี่ของอาการไม่อยากอาหาร/เบื่ออาหารลดลงทุกช่วงเวลาที่ทำการศึกษาอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p = .047-.001) ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย/เปลี้ย/ไม่มีแรงกังวล/กลุ้มใจ และปากแห้งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .035-.001) คุณภาพชีวิตโดยรวม และคุณภาพชีวิต ด้านร่างกาย และด้านอารมณ์และจิตใจลดลงระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการ รักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .029-.000) การรับรู้อาการ ความถี่ และความรุนแรงอาการมี ความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านการปฏิบัติกิจกรรม (p < .01) |
metadata.dc.description.other-abstract: | This descriptive research aimed to investigate; 1) symptom experiences including, perception of symptoms, frequency, and severity of symptoms, in patients with advanced cancer receiving chemotherapy, 2) quality of life of patients with advanced cancer, and 3) relationship between symptom experiences and quality of life of patients. A purposive sample of 83 patients was recruited of this study during December 2014-December 2015. The instruments used comprised 1) personal information sheet, 2) The Memorial Symptom Assessment Scale (MSAS), and 3) Functional Assessment of Cancer Therapy-General Scale (FACT-G). Data were collected from participants before, during, and after receiving chemotherapy. Descriptive statistics and Friedman test was used to analyze symptom experiences and quality of life. Relationship between symptoms experiences and quality of life were analyzed by using Spearman ranks correlation. The finds showed that 5 symptoms perceived most by the patients included fatigue, anxiety, insomnia/difficulty sleeping, loss of appetite/anorexia, and dry mouth respectively. Frequency and severity of anorexia were perceived most. In addition, frequency of loss of appetite/anorexia as well as severity of fatigue, anxiety and dry mouth significantly decreased all phases of the study (p=.047-.001). Overall quality of life, physical and emotional well-being decreased during chemotherapy and gradually increased thereafter (p=.029-.000). Perception of symptoms, frequency and severity of symptoms negatively related to functional well-being at a low level (p<.01). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2559 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1007 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PORNPIMON LERTPANIT.pdf | 4.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.