Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1010
Title: การวิจัยศึกษาการลดความเสี่ยงและความสูญเสียในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: A study of risk and loss reduction for on-duty officers in the three southern border provinces
Authors: วีรญา อังศุธรถาวริน
metadata.dc.contributor.advisor: จอมเดช ตรีเมฆ
Keywords: ไทย (ภาคใต้) --ปัญหาชายแดน;การก่อความไม่สงบ -- ไทย (ภาคใต้);ความรุนแรงทางการเมือง -- ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาการลดความเสี่ยงและความสูญเสียในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อแสวงหาแนวทางในการลดความเสี่ยงและความสูญเสียในการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งได้เป็น สองกลุ่ม คือ 1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 8 ท่าน และ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับนโยบาย จำนวน 5 ท่าน โดยมีแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิง เนื้อหา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เกิดปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ที่ส่งผลกระทบใน การปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ 1) ด้านกำลังพล มีการขาดแคลนกำลังพล จึงไม่เพียงพอต่อการดูแลพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง และกำลังพลในบางส่วนไม่มีความคุ้นเคยในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ด้านวัฒนธรรม ภาษา และการสื่อสาร ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน มีใช้ การภาษามลายู หรือภาษายาวี ในการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การสื่อสารระหว่างประชาชนและ เจ้าหน้าที่เกิดปัญหา 3) ด้านการปฏิบัติงาน เมื่อการสื่อสารเป็นปัญหา การเข้าถึงประชาชน เพื่อ ป้องกันเหตุความรุนแรง การควบคุมและการลดความรุนแรง มีประสิทธิภาพลดน้อยลง 4) ด้านยุทโธปกรณ์ ยังขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นบางส่วนและยังไม่ เพียงพอ เช่น อุปกรณ์ปฐมพยาบาล รถหุ้มเกราะ และเสื้อเกราะ โดยจะต้องมีน้ำหนักเบา และมีขนาด ที่เหมาะสมเพื่อความคล่องตัว เป็นต้น 5) ด้านความร่วมมือ ควรเน้นการบรู้การและประสานความ ร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐต่อหน่วยงานรัฐ ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ 6) ด้านสวัสดิการ ควรมีสวัสดิการ ค่าตอบแทน การดูแล และการให้สิทธิให้มากกว่าที่มีอยู่ เพื่อเป็น ขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่มีความเสี่ยงต่อความสูญเสียต่อจิตใจ ร่างกายและชีวิต การแก้ไขปัญหาเหล่านี้มีส่วนให้การช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เต็มไป ด้วยประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นการป้องกันและลดความสูญเสียอันจะเป็นผลกระทบ ที่อาจจะเกิดกับร่างกาย ชีวิต อีกทั้งเป็นการหันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับเยียวยาจิตใจของเจ้าเหน้าที่ ให้เกิดความเข้มแข็งในระยะยาวต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยดังนี้ 1) ด้านภาษาปัญหาในการสื่อสารของ เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ ควรสร้างหรืออบรมเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษา มลายู และมีความเข้าใจโน้ตลักษณ์ความเป็นวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะเข้าไปร่วมปฏิบัติหน้าที่ใน งานด้านงานมวลชนสัมพันธ์ เพื่อลดปัญหาการสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ บรรจุอยู่ในทุก หน่วยงาน 2) ด้านการปฏิบัติงาน ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เป็น การสร้างเงื่อนไข ควรต้องมีการดูแลเอาใจใส่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาควรรับฟังปัญหาของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ดูแลการปฏิบัติงานให้อยู่ในสายตา ทั้งให้คำปรึกษาเรื่องการงานและในเรื่องปัญหา ส่วนตัว 3) ด้านยุทโธปกรณ์ โดยเน้นอุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย สามารถป้องกันหรือ ระวังก่อน-ระหว่างการเกิดเหตุความรุนแรงได้ และโดยเฉพาะเสื้อเกราะกันส้นจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ มีความเหมาะสมน้ำหนักเบา สวมใส่แล้วสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว ขนาดพอดีกับ ผู้ปฏิบัติงาน และต้องมีจำนวนที่เพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อความปลอดภัยให้กับ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 4) ด้านสภาวะทางจิตใจ ควรมีจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อให้คำปรึกษา รวมทั้งการเยียวยารักษาสภาวะทางด้านจิตใจ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติงาน โดยแบ่งการ ดำเนินงานเป็ นไตรมาส (ปี ละ 4 ครั้งหรือในทุกๆ 3 เดือน) เพื่อประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติ หน้าที่ ที่อาจส่งผลในระยะยาว จัดเก็บเป็นสถิติเพื่อการศึกษาด้านผลกระทบต่อไป 5) ด้านสวัสดิการ ควรจะต้องมีการเพิ่มค่าตอบแทนในทุกส่วนให้มากขึ้นกว่าเดิมที่มีอยู่ รวมทั้งสิทธิที่เท่าเทียมกับ บุคลากรหน่วยอื่น โดยต้องคำนึงถึงภาระความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ 6) ด้านการเพิ่มพูน ทักษะในการปฏิบัติงานให้มากขึ้น การปรับเปลี่ยนใช้ยุทธศาสตร์ในวิธีใหม่โดยศึกษาจากรูปแบบ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการรับมือสถานการณ์เหตุความรุนแรงในอนาคต รวมทั้งการปรับการ ฝึกภาคสนามก่อนลงไปปฏิบัติหน้าที่จริง ในพื้นที่ให้เน้นทางด้านการฝึกที่ส่งเสริมทักษะที่ต้องใช้ใน การปฏิบัติหน้าที่จริงให้มากที่สุด 7) ด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ควรจะสร้างเอกภาพในการทำงานและร่วมกันประสานงาน ได้ ในทุกด้านให้เกิดประสิทธิภาพ รวดเร็ว และถูกต้องให้มากขึ้นกว่าเดิม 8) ด้านนโยบายมีความ สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในส่วนหนึ่ง เนื่องจากปัญหาหน้างานในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน อาจจะต้องปรับเปลี่ยนกับรับมือในรูปแบบอื่นใหม่ เพื่อเป็นการรับมือในรูปแบบเชิงรุก 9) จะต้อง เน้นการสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชน และ การปฏิบัติงานที่ไม่สร้างเงื่อนไข จะทำให้สามารถ สร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้วางใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และทำให้กระบวนการ ยุติธรรมเกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น และ 10) เน้นการใช้หลักนิติรัฐ เพื่อการควบคุมและตรวจสอบ การดำเนินการของภาครัฐ ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรมให้มากขึ้นเป็นการ สร้างความไว้วางใจการใช้อำนาจของรัฐอย่างเป็นธรรมคู่ขนานไปกับการใช้แนวทางสันติวิธี เพื่อ ประสิทธิภาพในการลดเหตุการณ์ความรุนแรง และสร้างกฎหมายที่ใช้แก้ไขปัญหาสำหรับการ สถานการณ์การก่อเหตุความรุนแรงโดยเฉพาะ
metadata.dc.description.other-abstract: A study of risk and loss reduction for on-duty officers in the three southern border provinces aimed to study the core of problems and obstacle of operation officers in the three southern border provinces, to find out solutions to control and prevent risk and loss. This research is conducted qualitatively via in-depth interview through two groups of samples: 1) eight operation officer group and 2) five expert policy developers. In order to recognize the problems and formulate solutions the difficulty of working, the data has been analyzed and collected. The researcher found out the causes that effected to the officer operation was as the following reasons; 1) Manpower; a shortage of manpower cause the overall work performance among officers, the reason is that they don’t get to experience locals living life style. 2) The difference of culture, language and communication; Malay or as called Jawi is the communication language in the three southern border provinces. The difference caused the communication conflict between operation officers and locals. 3) The operation; when the communication objective was not reached, the goal to understand locals became problems. To reduce and control violence in the area was less effective. 4) Weapons and armament; the lack of modern weapons and armament and shortage of necessary equipment such as first aid kit, armored Humvee and body armor which should be made practical, light and fitted to the body. 5) Cooperation; the innovation and cooperation between government departments should be more increased. 6) Welfare and benefits; to encourage and lift up operation officer’s spirit, welfare and benefits should be increasing. The operation officers are at risk both mentally and physically. To formulate solutions help increase officers performance, also to prevent and control risk and loss both mentally and physically in a long term effectiveness. The researcher suggested solutions as follows; 1) The culture, language and communication training; there should be an indepth training of difference and understand uniqueness in locals’ cultural. The cooperation between locals and operation officer creates relationship and reducing miscommunication. 2) The function operation, the systematically work style creates functional work force; there should not be selective condition between officers in a team. Commanders and leaders should take care of work life balance towards all operation officers. Guidance and coaching towards every issue helps operation officers pass through difficulties during hard working. 3) Weapons and armament; modern date weapons and armament required for operation officers, to control and prevent loss and death. Especially, the proper weight and fit bullet armory should be the first considering given to operation officers. Including, provided numbers of armament for the reasons of safety condition. 4) Mental Health; counseling or assisting service. There should be an expert psychologist or psychiatrist evaluates operation officer mental stage before, during and after field working. To process the counseling therapy, the working system should set up into three quarters (four times a year or once in every three-month). To evaluate the side effect of officers from operation work which cause the long term effect, in additions of data collection for the future studies. 5) Welfare and benefits; there should be increasing payment, including all healthcare, education fee for operation officers’ heir etc. that could compare to other government officers’ benefit. This increase welfare and benefits considered from the high risk of their working in three southern provinces. 6) Skills development; to improve workforce strategy adapted from the updated situations. To control, prevent and handle the future coming violence events, including, the better training on field working before turning into actions. 7) Cooperation between departments; the independent of department and cooperation between departments increase the effective work performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1010
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CJA-CJA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
VERAYA AUNGSUTHORNTHAWARIN.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.