Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/102
Title: การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะการทำงานเป็นทีม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในรายวิชาชีววิทยาเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Development of grade 11 students’ learning outcome and teamwork skills in a biology lesson on photosynthesis through flipped classroom approach with cooperative learning
Authors: อภิญญารักษ์ วงษ์ทิพย์
metadata.dc.contributor.advisor: อภิธวัฒน์ จรินทร์ธนันต์
Keywords: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);การทำงานเป็นทีม;การจัดการเรียนรู้
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2. เพื่อวัดระดับทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 42 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง จำนวน 5 แผน แบบวัดผลการเรียนรู้ และแบบประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างผลการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบ paired t-test และสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังเรียนชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังเรียนชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่านักเรียนมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับดี
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this research were to compare the learning outcome of students between before and after learning the biology lesson on photosynthesis and to assess their teamwork skills after learning the lesson. The samples were a grade 11 class of 42 students at a secondary school in Pathumthani, the number of which was obtained from purposive sampling. The research instruments were 5 flipped lesson plans on photosynthesis integrated with cooperative learning, a learning outcome test, and a teamwork assessment form. All collected data were analyzed using descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation. The comparison between pre-test and post-test results was conducted using paired t-test. The research findings revealed that the post-test mean score was higher than the pre-test mean score at a significant level of .05. After implementing the flipped classroom approach with cooperative learning, it was found that students had teamwork skills at a good level
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/102
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apinyarak Wongtip.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.