Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1021
Title: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาเคมีพื้นฐานเรื่องปฏิกิริยาเคมี สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Other Titles: | Problem-based learning to promote learning achievement and scientific reasoning on fundamental chemistry in the topic of chemical reaction for 10th grade students |
Authors: | ธันยพร ศรีวิชัย |
metadata.dc.contributor.advisor: | อรจิรา อารักษ์สกุลวงศ์ |
Keywords: | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- วิจัย;การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน -- วิจัย;วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยนำการวิจัยเชิง ปฏิบัติการมาใช้กับการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่องปฏิกิริยาเคมี ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่องปฏิกิริยาเคมี (3) เพื่อพัฒนา ความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการ เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่องปฏิกิริยาเคมี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 4 จำนวน 56 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) เครื่องมือการทดลอง ได้แก่ แผนการ จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 7 แผน (2) เครื่องมือสะท้อนผล ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการ เรียนของนักเรียนและพฤติกรรมการสอนของครู แบบสอบถามความคิดเห็น แบบบันทึกหลังการ สอน และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร และ (3) เครื่องมือประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.751 และ แบบทดสอบการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบ Independent และคำนวณคะแนนพัฒนาการ ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสามารถสร้างความรู้จาก กระบวนการทำงานกลุ่มและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีโดยการค้นคว้า หาคำตอบและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่องปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียน กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this research are to: (1) study 10th grade students’ learning activities based on the Problem-Based Learning lesson plans on Fundamental Chemistry in the Topic of Chemical Reaction. (2) promote the leaning achievement of students in a secondary school by using Problem-based Learning on Chemistry Reaction. (3) develop the scientific reasoning of 10th grade students by using Problem-based Learning on Fundamental Chemistry in the topic of Chemical Reaction. 56 research participants were 10th grade students from a secondary school in Pathum Thani province in the first semester of the 2017 Academic year. They were selected by the purposive sampling technique. The representative samples of students were divided into 2 groups: 28 students in the experimental group and other 28 students in the controlled group. There were three types of research instruments as follows: (1) experimental tools: seven problem-based learning lesson plans; (2) reflective tools: Student Learning Behavior Observation and Teaching Behavior Observation Form, Students’ Opinion Questionnaire, Post-class Reflection Form, and quizzes; and (3) evaluation tools: Educational Achievement Test with reliability of 0.751 and a Scientific Reasoning Test. The data were analyzed by using t-test for Independent sample and calculated for the growth score. This study showed (1) the learners in Problem-Based Learning method acquired knowledge by working in groups and good activity participation. They had to find their answers and participate activities by themselves. (2) the achievement of the experimental group was higher than that of the controlled group on Fundamental Chemistry at the significance level of .05 (3) the scientific reasoning of the experimental group was higher than that of the controlled group on Fundamental Chemistry at the significance level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การสอนวิทยาศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1021 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-TS-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TANYAPORN SRIWICHAI.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.