Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1060
Title: แนวทางการป้องกันการเป็นเหยื่อเว็บไซต์วารสารทางวิชาการที่ถูกปลอมแปลง
Other Titles: Preventive measures for victims of hijacked academic journal websites
Authors: เบญญาภา มารินทร์
metadata.dc.contributor.advisor: ศุภกร ปุญญฤทธิ์, ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม
Keywords: อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ -- การป้องกัน;เว็บไซต์ -- ความน่าเชื่อถือ;วารสาร -- การประเมิน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหา รูปแบบ วิธีการของการ ปลอมแปลงเว็บไซต์วารสารทางวิชาการ (2) ศึกษาผลกระทบของปัญหาดังกล่าวที่มีต่อนักวิชาการและวงการวิชาการ และ (3) เสนอแนวทางการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเว็บไซต์วารสารทางวิชาการที่ถูกปลอมแปลง การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยวิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และทาการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย จานวน 14 คน โดยเลือกแบบเจาะจงบนฐานความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับกรณีศึกษาเป็นเกณฑ์เบื้องต้น และเป็นผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับกรณีศึกษา จานวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารหรือผู้แทนหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการป้องกัน ปราบปรามและติดตามจับกุมอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 2) ผู้บริหารหรือผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนให้มีการตีพิมพ์บทความทางวิชาการ และผู้บริหารของวารสารทางวิชาการไทย 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญด้านการตีพิมพ์บทความทางวิชาการชาวไทย และนักวิชาการชาวต่างชาติ 4) ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย พ.ร.บ.การกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ประเด็นในการสัมภาษณ์ที่กาหนดกรอบให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและใช้แนวคิดและทฤษฎีทางอาชญาวิทยามาเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการการวิจัยพบว่าการปลอมแปลงเว็บไซต์วารสารทางวิชาการเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งซึ่งมีความซับซ้อนมีการวางแผนโดยอาชญากรทางคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบโดยจะทาการหลอกลวงนักวิชาการว่าสามารถตีพิมพ์บทความให้ในวารสารที่น่าเชื่อถือในระยะเวลาอันสั้นเพียงจ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ให้ผ่านช่องทางที่กาหนด แต่ปรากฏว่าเว็บไซต์นั้นเป็นเว็บไซต์ที่ถูกปลอมแปลงไม่ใช่เว็บไซต์ที่แท้จริงของวารสารที่ถูกอ้างถึง จากการศึกษาพบว่ามีวารสารที่ตกเป็นเหยื่อถึง 162 วารสาร และยังมีเว็บไซต์ที่ใช้งานได้อยู่จนถึงปัจจุบัน จานวน 43 เว็บไซต์ และรูปแบบของการกระทาผิดมีการวางแผนปฏิบัติการอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่วิธีการเลือกวารสารทางวิชาการที่จะทาการ ปลอมแปลง วิธีการปลอมแปลงเว็บไซต์ วิธีการส่งอีเมลชวนเชื่อ วิธีการสร้างช่องทางการชาระเงินค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ และการเชื่อมโยงการปลอมแปลงเว็บไซต์กับการหลอกลวงประเภทอื่นๆ เช่น การจ้างกองบรรณาธิการวารสาร การเชื่อมโยงกับการจัดประชุมวิชาการปลอม และการจัดตั้งตัวชี้วัดคุณภาพวารสารและบริษัทคานวณตัวชี้วัดปลอม เป็นต้น สาหรับตัวตนของอาชญากร ผู้ก่ออาชญากรรมนี้การศึกษานี้สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการเป็นอย่างดี ส่วนเหยื่อของอาชญากรรมรูปแบบนี้ต่างจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นเพราะมีความเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ วารสารทางวิชาการ และเหยื่อที่เป็นกลุ่มนักวิชาการที่ตีพิมพ์บทความ ซึ่งในการดาเนินคดีกับผู้กระทาความผิดนั้นมีข้อจากัดด้านการดาเนินคดีและทางกฎหมายหลายประการ แนวทางการการป้องกันการเป็นเหยื่อจึงเน้นแนวทางที่ให้เหยื่อสามารถป้องกันตนเองได้เป็นสาคัญ โดยให้ความรู้กับตัวเหยื่อเองและหน่วยงานที่กาหนดนโยบายด้านการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ทั้งด้านการให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงปัญหาให้กับกลุ่มเหยื่อผ่านการจัดการเรียนการสอน การอบรมให้มีความรู้เท่าทัน สาหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมเน้นการป้องกันโดยการให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักแก่เหยื่อ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และหน่วยงานระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการ ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากรด้านความรู้และการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การเพิ่มงบประมาณด้านอุปกรณ์ และเครื่องมือที่สาคัญ เช่น ระบบฐานข้อมูลแบบบูรณาการเพื่อติดตามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ และการปรับแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมลักษณะการกระทาความผิด หรือเพิ่มอานาจให้กับเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อติดตามกับกุมผู้กระทาความผิดมาดาเนินคดี เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดต่อเหยื่อซึ่งเป็นนักวิชาการและวงการวิชาการ
metadata.dc.description.other-abstract: This study aims to (1) examine the circumstances of problems, patterns, and approaches of hijacking academic journal websites, (2) to identify the impacts or effects of the hijacking on world scholars and the academic cycle, and (3) to propose preventive measures for those websites from being victimized by the hijacking. This qualitative research explored Thai and international texts, books, journals, articles and other related documents included in the areas of hijacked academic journal websites. The methodology included an in-depth interview with 14 key informants. This study revealed that hijacked academic journal websites were complicated but systematically planned by cybercriminals who deceived authors into submitting their manuscripts to counterfeit websites of academic journals and asked authors to pay submission fees and promised them the publication of their academic journals. It was also found out that there were around 162 hijacked journals, and 43 websites were still active. Forms and methods of committing crime included the selection of prospective academic journals, use of website counterfeits, the delivery of spam mails to prospective victims, deceiving prospective victims into paying publishing fees through the created channel, and an integration of website counterfeiting into other forms of fraud such as employment of a predatory editorial board, an invitation to an uncertified seminar, and use of fake journal quality indicators and fake companies for calculating indicators. The data of victims who were researchers, lecturers, and postgraduate students were also presented. The result showed that those cybercriminals had understanding of academic publication and the academic circles. Recommendations on preventive measures for victims of hijacked academic journal’s websites and related agencies were to educate and inform prospective victims and operational officers to be aware of this crime because the investigation of is more difficult to decrease the impact of this crime, policy organizations allocate budget on training of operational officers in juridical organizations in new threats of cybercrime and the enforcement of the new Thailand’s Computer-related Crime Act and on hi-tech systems, such as an integrated criminal investigation information system. In addition, related laws should be amended to cover more offenses and authorize operational officers to track evidence.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1060
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CJA-CJA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BENYAPA MARIN.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.